ศูนย์เวชศาสตร์การกีฬา
ให้การรักษาและฟื้นฟู เพื่อให้กลับมาเล่นกีฬาได้อย่างรวดเร็ว
เช่น การบาดเจ็บที่หัวเข่าหรือหัวไหล่ จากการหกล้มการปะทะ หรือการกระชาก ในระหว่างการเล่นกีฬ่าทำให้ เข่าหลุด หัวไหล่หลุด เส้นเอ็นอักเสบ หรือฉีกขาด เป็นต้น การรักษาตั้งแต่ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว การให้ทานยา การฉีดยา การทำกายภาพบำบัด จนกระทั่งการผ่าตัด และการป้องกันการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นซ้ำอีกในอนาคต กรณีที่ไม่ต้องทำการผ่าตัด คนไข้ควรปฏิบัติตัวตามที่แพทย์สั่ง เช่น ไม่เล่นกีฬาในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บเพิ่มเติม หรือเล่นกีฬาประเภทอื่น ที่ไม่กระทบต่ออาการบาดเจ็บ อาจมีการทำกายภาพบำบัดและฝึกกล้ามเนื้อเพื่อรักษาสภาพกล้ามเนื้อและเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ให้มีการใช้งานได้ใกล้เคียงเหมือนปกติ ส่วนกลุ่มที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ในปัจจุบันมีการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก เพราะการผ่าตัดส่องกล้องจะใช้การเจาะรู ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื้อระหว่างทางที่จะเข้าไปซ่อมแซมน้อยลง รวมทั้งลดพังผืดในบริเวณที่ผ่าตัดและการทำกายภาพ หลังการผ่าตัด
ส่องกล้องสามารถทำได้รวดเร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่ ตลอดจนอาการเจ็บปวดหลังการผ่าตัดน้อยกว่า ด้วยข้อดีเหล่านี้ทำให้การผ่าตัดส่องกล้องเป็นการรักษาที่มาตรฐานและได้รับความนิยม ในปัจจุบันสามารถที่จะฟื้นตัวได้เร็วและกลับมาเล่นกีฬาได้เร็วขึ้นด้วย
ให้การรักษาและฟื้นฟู สำหรับผู้ที่มีปัญหาการปวดไหล่หรือปวดเข่าเรื้อรัง
จากการทำงานหรือจากอายุที่มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการอาการปวดเรื้อรัง เช่น อาการปวดที่หัวไหล่เรื้อรังจากเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด การมีกระดูกงอกผิดปกติหรือมีหินปูนที่หัวไหล่ อาการปวดเข่าเรื้อรังจากภาวะเข่าเสื่อมเนื่องจากมีอายุมากขึ้น การรักษาขึ้นอยู่กับภาวะของผู้ป่วย ตั้งแต่การให้ทานยา การฉีดยาการทำกายภาพบำบัดและการผ่าตัด
ให้การรักษาและฟื้นฟู โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
การวินิจฉัยด้วยเครื่อง MRI
การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI (Magnetic Resonance Imaging) คือ เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่นำมาใช้ในการช่วยวิเคราะห์และวินิจฉัยโรค เป็นเทคนิคการสร้างภาพทางการแพทย์ที่ใช้ในรังสีวิทยา เพื่อการตรวจทางกายวิภาค และสรีรวิทยาของร่างกายทั้งในด้านสุขภาพและโรคต่างๆ การตรวจ MRI เป็นการใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุความเข้มสูงในการสร้างภาพเหมือนจริงของอวัยวะภายในต่างๆ ของร่างกายด้วยคอมพิวเตอร์รายละเอียด
และความคมชัดสูง ภาพที่ได้จึงชัดเจนเป็น 3 มิติ วิธีการตรวจนี้ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ แก่ร่างกายและไม่มีอันตรายจากรังสีตกค้าง การตรวจMRI สามารถใช้ตรวจข้อ และกระดูก เช่น ข้อเข่า ข้อไหล่ เมื่อสงสัยว่าจะมีการฉีกขาดของเส้นเอ็นหรือกระดูกอ่อนภายในข้อ ภาพ MRI จะเห็นส่วนประกอบต่างๆ ภายในข้อได้อย่างชัดเจน และบอกได้อย่างแม่นยำ ว่ามีการบาดเจ็บต่อส่วนประกอบเหล่านั้นอย่างไรบ้างก่อนเข้ารับการตรวจ
การฟื้นฟู ด้วยเครื่องมือทางกายภาพ เช่น ลดปวด ลดอักเสบ ซ่อมเสริมเนื้อเยื่อ
High Power LASER
แสงเลเซอร์กระตุ้นให้เกิดผลทางชีววิทยารอบๆ เซลล์ เร่งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ กระตุ้นการซ่อมแซมของแผลเรื้อรัง ระงับการปวดเฉพาะที่ และช่วยลดการอักเสบ
Magnetic Therapy
สามารถลดอาลการปวดได้ทันทีหลังการรักษา โดยใช้เวลาเพียง 15-20 นาที ต่อจุด และยังเป็นการกระตุ้นให้มีการซ่อมเสริมของเนื้อเยื่อด้วย
Tecar
รักษาได้ทั้งอาการอักเสบฉับพลันและเรื้อรัง เป็นการฟื้นฟูลึกถึงเซลล์ ต้นกำเนิด สามารถรักษาได้ทั้งแบบใช้ความร้อน และไม่ใช่ความร้อน
Radial Shockwave Therapy
เครื่องมือบำบัดด้วยคลื่นกระแทกความถี่สูง ใช้ในการบำบัดรักษาอาการเจ็บปวดของระบบกระดูกกล้ามเนื้อ ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดเรื้อรังและเพิ่มกระบวนการไหลเวียนเลือด
ให้การรักษาและฟื้นฟู
การผ่าตัดด้วยการส่องกล้องข้อ (Arthroscopic Surgery)
คือ การผ่าตัดภายในข้อ โดยใช้กล้องขนาดเล็กส่องเข้าไปในข้อนำภาพภายในข้อมายังจอรับภาพเพื่อแพทย์ จะได้เห็นพยาธิสภาพในข้อได้ชัดเจนขณะเดียวกันก็จะใช้เครื่องมือขนาดเล็กเท่าปากกาสอดเข้าไปในข้อเพื่อทำการผ่าตัดแก้ไขพยาธิสภาพนั้นๆ ดังนั้น การผ่าตัดในลักษณะนี้จึงมีแผลที่ข้อขนาดเล็กเพียง 0.5 ซม. 2-3 แผล ซึ่งต่างกับการผ่าตัดแบบเดิมที่มีแผลขนาดใหญ่และต้องเปิดเข้าไปAในข้อ ทำให้เกิดข้อติดยึดในภายหลัง
ข้อดี ของการผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อ
- สามารถเห็นพยาธิสภาพในข้อได้ทั้งหมด และชัดเจนกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่
- แพทย์สามารถใช้เครื่องมือขนาดเล็ก แต่มีประสิทธิภาพ ทำการผ่าตัดแก้ไขพยาธิสภาพในข้อได้อย่างแม่นยำ และรวดเร็ว
- สามารถบันทึกรายละเอียดการผ่าตัด เป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ให้คนไข้เก็บเพื่อประโยชน์ในการรักษาในภายหลัง
- แผลมีขนาดเล็ก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่สามารถทำกายภาพหลังผ่าตัดได้ดี และฟื้นตัวเร็ว
- มีโอกาสติดเชื้อจากการผ่าตัดและข้อติดยึดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่
- ระยะเวลาที่ต้องนอนโรงพยาบาลสั้น กว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่
ผ่าตัดกล้องส่องข้อในการผ่าตัดข้อเข่าใช้ได้กรณีไหน?
- เอ็นข้อเข่าขาด, หมอนรองเข่าฉีก เช่น เอ็นไขว้ในเข่าขาด (ACL,PCL) หมอนรองเข่าฉีกขาด (Meniscus) จากการเล่นฟุตบอล, ประสบอุบัติเหตุรถยนต์, รถชน, ตกบันได เป็นต้น
- กระดูกอ่อนผิวข้อแตก สามารถใช้กล้องส่องข้อในการผ่าตัด ปรับสภาพผิวข้อ รวมถึงการปลูกถ่ายกระดูกอ่อนผิวข้อ
- กระดูกข้อเข่าแตกเข้าข้อ สามารถใช้กล้องส่องข้อช่วยในการจัดกระดูกให้กลับสู่สภาพเดิมได้ดีก่อนทำการยึดด้วยโลหะ
- ข้อเข้าเสื่อม ในกรณีที่ผู้ป่วยอายุไม่มาก (น้อยกว่า 60 ปี) มีแกนข้อเข่าดี แต่ผู้ป่วยมีอาการปวดเข่ามากก็สามารถเลือกใช้ การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อเพื่อลดอาการปวดจากข้อเสื่อมได้
- ทำความสะอาดกำจัดสิ่งแปลกปลอมในหัวเข่า เช่น เศษกระดูกที่อยู่ในข้อ (loose body) ล้างหนองในข้อ (Septic Arthritis) เป็นต้น
ผ่าตัดกล้องส่องข้อในการผ่าตัดข้อไหล่
- ไหล่หลุดบ่อยไม่มั่นคง (Shoulder Instability)
- ไหล่ติด รักษาโดยยาและการทำกายภาพแล้วไม่ดีขึ้น (Frozen Shoulder)
- เอ็นรอบข้อไหล่อักเสบหรือฉีกขาด (Rotator Cuff Lesions)
- หินปูนจับที่เอ็นรอบข้อไหล่ (Calcifying Tendinitis)
- หมอนรองเบ้าฉีกขาด (Labral Lesions)
- กระดูกเบ้าหัวไหล่หักแตก (Glenoid rim fracture / Body Brakort Fracture) Intraarticular GH joint Fracture)
- ข้อบริเวณไหล่เสื่อม (OA of GH joint, AC joint)
- ทำความสะอาดกำจัดสิ่งแปลกปลอมในหัวไหล่ เช่น เศษกระดูกที่อยู่ในหัวไหล่ (loose body) ล้างหนองในหัวไหล่ (Septic Arthritis) เป็นต้น
ผ่าตัดกล้องส่องข้อในการผ่าตัดข้อศอก
- ข้อศอกติดยึดจากพังผืดภายในข้อ
- เยื่อหุ้มข้ออักเสบรุนแรง
ผ่าตัดกล้องส่องข้อในการผ่าตัดข้อเท้า
- เอ็นข้อเท้าฉีกเข้าไปขวางในข้อทำให้ปวดข้อเท้าไม่หายหลังข้อเท้าเคล็ด
- เยื่อหุ้มข้ออักเสบรุนแรง
- กระดูกอ่อนผิวข้อเท้าแตก สามารถใช้กล้องส่องข้อในการผ่าตัดปรับสภาพผิวข้อ รวมถึงการปลูกถ่ายกระดูกอ่อนผิวข้อ
วันและเวลาทำการ วันจันทร์–วันอาทิตย์ เวลา 08.00-20.00 น.
สถานที่ตั้ง ศูนย์เวชศาสตร์การกีฬา ชั้น 2 โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา
นพ.สิทธิพร อุนยะพันธุ์
เวชศาสตร์การกีฬา เอ็นไขว้หน้าฉีกขาด