Bangkok Hospital Ratchasima

ประเภทอาการปวดศีรษะ

  • ปวดศีรษะจากการเกร็งของกล้ามเนื้อ มีลักษณะเหมือนถูกกด บีบ หรือรัดที่ศีรษะทั้งสองข้าง มักมีอาการ เริ่มที่ท้ายทอย ร้าวไปขมับทั้ง 2 ข้าง ต้นคอ บ่า ไหล่อาจจะมีอาการ กดเจ็บที่หนังศีรษะร่วมด้วย มักมีอาการปวดตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไปโดยมักพบในผู้ที่มีอาการเครียด ความเครียด โกรธ หรือเหนื่อย
  • ปวดศีรษะจากโรคไมเกรน มักพบขมับด้านใดด้านหนึ่ง อาจปวดร้าวมาที่กระบอกตา อาจมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน อาการอาจแย่ลง เมื่อเจอแสงจ้าหรือกลิ่นฉุน สู้แสง หรือเสียงไม่ได้ร่วมด้วย บางรายอาจมีอาการนำก่อน เห็นเป็นแสง วูบวาบ หรือมองเห็นภาพไม่ชัด มักปวดนานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน
  • ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ เป็นโรคที่พบได้น้อยมักพบในผู้ชายอายุ 20-40 ปี มักปวดศีรษะ ซีกเดียวหรือหน้าครึ่งซีก โดยเฉพาะกระบอกตาลึกๆ และบริเวณใกล้เคียง มีตาแดง น้ำตาไหลและคัดจมูกในด้านเดียวกัน อาการอาจกำเริบ หลังจากดื่มแอลกอฮอล์ การเดินทาง การขึ้นที่สูง
  • ปวดศีรษะจากโรคไซนัสอักเสบ เป็นการปวดศีรษะเนื่องจากโพรงจมูกติดเชื้อ มีอาการปวดแบบหน่วงๆ บริเวณหน้าผาก หัวตา โหนกแก้ม 2 ข้าง หรือบริเวณดั้งจมูก และรอบกระบอกตา เนื่องจากโพรงจมูกติดเชื้อและน้ำมูกไหลออกมา ไม่ได้ บางรายมีอาการปวดเมื่อก้มศีรษะหรือเปลี่ยนท่า
  • ปวดศีรษะจากความผิดปกติของสมอง อาการปวดศีรษะจากโรคในกลุ่มนี้จะมีลักษณะที่มีอาการปวดมากขึ้น เรื่อยๆ ไปจนถึงปวดรุนแรงมากๆ ตามลำดับ จากสิ่งที่ผิดปกติมี ขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ความดันในช่องศีรษะที่เพิ่มขึ้น อาการปวด จะอยู่ลึกๆ ในศีรษะและมีอาการทางระบบประสาทร่วม เช่น การมี อาการแขนขาอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก พูดไม่ชัด กลืนลำบาก หรือ การได้ยินลดลงอาเจียนพุ่ง ซึม ซัก หมดสติได้
  • ปวดศีรษะจากการอักเสบของกราม เป็นการปวดศีรษะเนื่องจากมีการอักเสบของกราม ผู้ป่วยอาจปวด ข้างเดียวหรือปวดทั้ง 2 ข้าง บางครั้งอาจแสดงอาการเมื่อเคี้ยวอาหาร สัมพันธ์กับการเคี้ยวอาหารและกัดฟันเวลานอน หรืออาจมีเสียงดังคลิก (Clicking) เวลาอ้าปากหรือขยับขากรรไกร ลามไปถึงบริเวณหู

การตรวจรักษา

     แพทย์จะทำการซักประวัติโดยละเอียด ทำการตรวจร่างกายทั่วไปและทางระบบประสาท และพิจารณาส่งตรวจเพิ่มเติมตามที่ เห็นสมควรเพื่อให้ข้อมูลสนับสนุนการวินิจฉัยโรค การตรวจเพิ่มเติมมีทั้งการตรวจเลือด การตรวจเอ็กซเรย์ ซึ่งมีทั้งเอ็กซเรย์ กะโหลกศีรษะแบบธรรมดาเพื่อดูโพรงไซนัส และลักษณะกระดูกหรือการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT SCAN) รวมทั้งการ พิจารณาส่งตรวจด้วยสนามแม่เหล็ก (MRI) ซึ่งจะให้ความละเอียดมากขึ้น อีกทั้งการพิจารณาฉีดสีในบางรายในกรณีที่ แพทย์เห็นสมควร นอกจากการตรวจเอ็กซเรย์ การตรวจอื่นที่จำเป็นเช่น การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง ในรายที่สงสัยมีการ ติดเชื้อเยื้อหุ้มสมองหรือสงสัยว่ามีเลือดออกในช่องน้ำไขสันหลัง และการส่งทำคลื่นสมอง (EEG) ตามความเหมาะสม ตามความผิดปกติดังนั้นผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะจึงควรพบปรึกษาแพทย์ทางระบบประสาท เพื่อให้ได้รับคำแนะนำและการตรวจรักษาที่เหมาะสม

หากคุณมีอาการปวดศีรษะบ่อยๆ หรืออาการปวดที่ไม่ควรมองข้าม อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศูนย์หลอดเลือดสมองและระบบประสาททันที

เพราะอาการปวดหัวดังกล่าว อาจเป็นสัญญาณเตือนจากโรคร้าย!

ข้อมูลติดต่อ

โทร. 044-015-999 หรือ โทร. 1719

ศูนย์สมองและระบบประสาท เปิดให้บริการ

  • วันจันทร์วันศุกร์       เวลา 08.00-19.00 .

  • วันเสาร์วันอาทิตย์   เวลา 08.00-17.00 .

สถานที่ตั้ง ศูนย์สมองและระบบประสาท ชั้น โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม