Bangkok Hospital Ratchasima

แผนกเวชศาสตร์การกีฬา

ให้การรักษาและฟื้นฟู  เพื่อให้กลับมาเล่นกีฬาได้อย่างรวดเร็ว

    เช่น การบาดเจ็บที่หัวเข่าหรือหัวไหล่ จากการหกล้มการปะทะ หรือการกระชาก ในระหว่างการเล่นกีฬ่าทำให้ เข่าหลุด หัวไหล่หลุด เส้นเอ็นอักเสบ หรือฉีกขาด เป็นต้น การรักษาตั้งแต่ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว การให้ทานยา การฉีดยา การทำกายภาพบำบัด จนกระทั่งการผ่าตัด และการป้องกันการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นซ้ำอีกในอนาคต กรณีที่ไม่ต้องทำการผ่าตัด คนไข้ควรปฏิบัติตัวตามที่แพทย์สั่ง เช่น ไม่เล่นกีฬาในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บเพิ่มเติม หรือเล่นกีฬาประเภทอื่น ที่ไม่กระทบต่ออาการบาดเจ็บ อาจมีการทำกายภาพบำบัดและฝึกกล้ามเนื้อเพื่อรักษาสภาพกล้ามเนื้อและเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ให้มีการใช้งานได้ใกล้เคียงเหมือนปกติ ส่วนกลุ่มที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ในปัจจุบันมีการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก เพราะการผ่าตัดส่องกล้องจะใช้การเจาะรู ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื้อระหว่างทางที่จะเข้าไปซ่อมแซมน้อยลง รวมทั้งลดพังผืดในบริเวณที่ผ่าตัดและการทำกายภาพ หลังการผ่าตัดส่องกล้องสามารถทำได้รวดเร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่ ตลอดจนอาการเจ็บปวดหลังการผ่าตัดน้อยกว่า ด้วยข้อดีเหล่านี้ทำให้การผ่าตัดส่องกล้องเป็นการรักษาที่มาตรฐานและได้รับความนิยม ในปัจจุบันสามารถที่จะฟื้นตัวได้เร็วและกลับมาเล่นกีฬาได้เร็วขึ้นด้วย

ให้การรักษาและฟื้นฟู สำหรับผู้ที่มีปัญหาการปวดไหล่หรือปวดเข่าเรื้อรัง

    จากการทำงานหรือจากอายุที่มากขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดการอาการปวดเรื้อรัง เช่น อาการปวดที่หัวไหล่เรื้อรังจากเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด การมีกระดูกงอกผิดปกติหรือมีหินปูนที่หัวไหล่ อาการปวดเข่าเรื้อรังจากภาวะเข่าเสื่อมเนื่องจากมีอายุมากขึ้น การรักษาขึ้นอยู่กับภาวะของผู้ป่วย ตั้งแต่การให้ทานยา การฉีดยาการทำกายภาพบำบัดและการผ่าตัด

“ให้การรักษาและฟื้นฟู โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ”

การรักษา

การผ่าตัดด้วยการส่องกล้องข้อ (Arthroscopic Surgery)

    คือ การผ่าตัดภายในข้อ โดยใช้กล้องขนาดเล็กส่องเข้าไปในข้อนำภาพภายในข้อมายังจอรับภาพเพื่อแพทย์ จะได้เห็นพยาธิสภาพในข้อได้ชัดเจนขณะเดียวกันก็จะใช้เครื่องมือขนาดเล็กเท่าปากกาสอดเข้าไปในข้อเพื่อทำการผ่าตัดแก้ไขพยาธิสภาพนั้นๆ ดังนั้น การผ่าตัดในลักษณะนี้จึงมีแผลที่ข้อขนาดเล็กเพียง 0.5 ซม. 2-3 แผล ซึ่งต่างกับการผ่าตัดแบบเดิมที่มีแผลขนาดใหญ่และต้องเปิดเข้าไปAในข้อ ทำให้เกิดข้อติดยึดในภายหลัง

ข้อดี ของการผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อ

– สามารถเห็นพยาธิสภาพในข้อได้ทั้งหมด และชัดเจนกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่

– แพทย์สามารถใช้เครื่องมือขนาดเล็ก แต่มีประสิทธิภาพ ทำการผ่าตัดแก้ไขพยาธิสภาพในข้อได้อย่างแม่นยำ และรวดเร็ว

– สามารถบันทึกรายละเอียดการผ่าตัด เป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ให้คนไข้เก็บเพื่อประโยชน์ในการรักษาในภายหลัง

– แผลมีขนาดเล็ก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่สามารถทำกายภาพหลังผ่าตัดได้ดี และฟื้นตัวเร็ว

– มีโอกาสติดเชื้อจากการผ่าตัดและข้อติดยึดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่

– ระยะเวลาที่ต้องนอนโรงพยาบาลสั้น กว่าการผ่าตัดแบบเปิดแผลใหญ่

ผ่าตัดกล้องส่องข้อในการผ่าตัดข้อเข่าใช้ได้กรณีไหน?

– เอ็นข้อเข่าขาด, หมอนรองเข่าฉีก เช่น เอ็นไขว้ในเข่าขาด (ACL,PCL) หมอนรองเข่าฉีกขาด (Meniscus) จากการเล่นฟุตบอล, ประสบอุบัติเหตุรถยนต์, รถชน, ตกบันได เป็นต้น

– กระดูกอ่อนผิวข้อแตก สามารถใช้กล้องส่องข้อในการผ่าตัด ปรับสภาพผิวข้อ รวมถึงการปลูกถ่ายกระดูกอ่อนผิวข้อ

– กระดูกข้อเข่าแตกเข้าข้อ สามารถใช้กล้องส่องข้อช่วยในการจัดกระดูกให้กลับสู่สภาพเดิมได้ดีก่อนทำการยึดด้วยโลหะ

– ข้อเข้าเสื่อม ในกรณีที่ผู้ป่วยอายุไม่มาก (น้อยกว่า 60 ปี) มีแกนข้อเข่าดี แต่ผู้ป่วยมีอาการปวดเข่ามากก็สามารถเลือกใช้ การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องข้อเพื่อลดอาการปวดจากข้อเสื่อมได้

– ทำความสะอาดกำจัดสิ่งแปลกปลอมในหัวเข่า เช่น เศษกระดูกที่อยู่ในข้อ (loose body) ล้างหนองในข้อ (Septic Arthritis) เป็นต้น

ผ่าตัดกล้องส่องข้อในการผ่าตัดข้อไหล่

  1. ไหล่หลุดบ่อยไม่มั่นคง (Shoulder Instability)
  2. ไหล่ติด รักษาโดยยาและการทำกายภาพแล้วไม่ดีขึ้น (Frozen Shoulder)
  3. เอ็นรอบข้อไหล่อักเสบหรือฉีกขาด (Rotator Cuff Lesions)
  4. หินปูนจับที่เอ็นรอบข้อไหล่ (Calcifying Tendinitis)
  5. หมอนรองเบ้าฉีกขาด (Labral Lesions)
  6. กระดูกเบ้าหัวไหล่หักแตก (Glenoid rim fracture / Body Brakort Fracture) Intraarticular GH joint Fracture)
  7. ข้อบริเวณไหล่เสื่อม (OA of GH joint, AC joint)
  8. ทำความสะอาดกำจัดสิ่งแปลกปลอมในหัวไหล่ เช่น เศษกระดูกที่อยู่ในหัวไหล่ (loose body) ล้างหนองในหัวไหล่ (Septic Arthritis) เป็นต้น

ผ่าตัดกล้องส่องข้อในการผ่าตัดข้อศอก

  1. ข้อศอกติดยึดจากพังผืดภายในข้อ
  2. เยื่อหุ้มข้ออักเสบรุนแรง

ผ่าตัดกล้องส่องข้อในการผ่าตัดข้อเท้า

  1. เอ็นข้อเท้าฉีกเข้าไปขวางในข้อทำให้ปวดข้อเท้าไม่หายหลังข้อเท้าเคล็ด
  2. เยื่อหุ้มข้ออักเสบรุนแรง
  3. กระดูกอ่อนผิวข้อเท้าแตก สามารถใช้กล้องส่องข้อในการผ่าตัดปรับสภาพผิวข้อ รวมถึงการปลูกถ่ายกระดูกอ่อนผิวข้อ

    การวินิจฉัยด้วยเครื่อง MRI

    การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI (Magnetic Resonance Imaging) คือ เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่นำมาใช้ในการช่วยวิเคราะห์และวินิจฉัยโรค เป็นเทคนิคการสร้างภาพทางการแพทย์ที่ใช้ในรังสีวิทยา เพื่อการตรวจทางกายวิภาค และสรีรวิทยาของร่างกายทั้งในด้านสุขภาพและโรคต่างๆ การตรวจ MRI เป็นการใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุความเข้มสูงในการสร้างภาพเหมือนจริงของอวัยวะภายในต่างๆ ของร่างกายด้วยคอมพิวเตอร์รายละเอียด
และความคมชัดสูง ภาพที่ได้จึงชัดเจนเป็น 3 มิติ วิธีการตรวจนี้ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ แก่ร่างกายและไม่มีอันตรายจากรังสีตกค้าง การตรวจ MRI สามารถใช้ตรวจข้อ และกระดูก เช่น ข้อเข่า ข้อไหล่ เมื่อสงสัยว่าจะมีการฉีกขาดของเส้นเอ็นหรือกระดูกอ่อนภายในข้อ ภาพ MRI จะเห็นส่วนประกอบต่างๆ ภายในข้อได้อย่างชัดเจน และบอกได้อย่างแม่นยำ ว่ามีการบาดเจ็บต่อส่วนประกอบเหล่านั้นอย่างไรบ้างก่อนเข้ารับการตรวจ

การฟื้นฟู

การฟื้นฟู ด้วยเครื่องมือทางกายภาพ เช่น ลดปวด ลดอักเสบ ซ่อมเสริมเนื้อเยื่อ

High Power LASER

แสงเลเซอร์กระตุ้นให้เกิดผลทางชีววิทยารอบๆ เซลล์ เร่งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ กระตุ้นการซ่อมแซมของแผลเรื้อรัง ระงับการปวดเฉพาะที่ และช่วยลดการอักเสบ

Magnetic Therapy

สามารถลดอาลการปวดได้ทันทีหลังการรักษา โดยใช้เวลาเพียง 15-20 นาที ต่อจุด และยังเป็นการกระตุ้นให้มีการซ่อมเสริมของเนื้อเยื่อด้วย

Tecar

รักษาได้ทั้งอาการอักเสบฉับพลันและเรื้อรัง เป็นการฟื้นฟูลึกถึงเซลล์ ต้นกำเนิด สามารถรักษาได้ทั้งแบบใช้ความร้อน และไม่ใช่ความร้อน

Radial Shockwave Therapy

เครื่องมือบำบัดด้วยคลื่นกระแทกความถี่สูง ใช้ในการบำบัดรักษาอาการเจ็บปวดของระบบกระดูกกล้ามเนื้อ ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวดเรื้อรังและเพิ่มกระบวนการไหลเวียนเลือด

ข้อมูลติดต่อ

  โทร. 044-015-999 หรือ โทร. 1719

ศูนย์โรคกระดูกและข้อ เปิดให้บริการ

   วันจันทร์วันอาทิตย์    เวลา 08.00-20.00 .

สถานที่ตั้ง ศูนย์โรคกระดูกและข้อ ชั้น 2 โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา