Bangkok Hospital Ratchasima

ศูนย์สมองและระบบประสาท (Neuroscience Center)

ศูนย์สมองและระบบประสาท มีทีมแพทย์สหสาขาวิชาทั้งผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและสุขภาพจิต ทีมพยาบาล นักกายภาพบําบัด นักโภชนาการ เภสัชกร เพื่อคอยดูแลให้คำแนะนำ ผู้ป่วยและญาติให้สามารถกลับไปรักษาตัวที่บ้านได้

คลินิกที่ให้บริการ

  • คลินิกศัลยกรรมประสาท
  • คลินิกโรคหลอดเลือดสมอง
  • คลินิกปวดศีรษะ
  • คลินิกโรคลมชัก
  • คลินิกพาร์กินสัน
  • คลินิกสมองเสื่อม
  • คลินิกสุขภาพจิต
  • คลินิกสุขภาพเพศชาย

การรักษา

  1. โรคหลอดเลือดสมอง เช่น หลอดเลือดสมองตีบ หลอดเลือดสมองแตก เส้นเลือดสมองผิดปกติ
  2. โรคความจำเสื่อม
  3. โรคพาร์กินสันและการเคลื่อนไหวผิดปกติ
  4. ปวดศีรษะไมเกรน ปวดศีรษะเรื้อรัง
  5. วิงเวียนศีรษะ
  6. โรคลมชัก
  7. โรคเส้นประสาทอักเสบ
  8. โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  9. โรคนอนไม่หลับ
  10. โรคทางกลุ่มจิตเวช เช่น โรคสองอารมณ์ ซึมเศร้า เครียด โรควิตกกังวล ปัญหาสุขภาพทางเพศชาย
  11. ก้อนเนื้องอกสมอง และ โรคต่างๆที่ต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดสมอง
  12. ภาวะอุบัติเหตุทางสมอง
  13. โรคติดเชื้อทางสมอง

นวัตกรรมใหม่ “Bi-Plane DSA”

รักษาโรคหลอดเลือดสมองโดยไม่ต้องผ่าตัด

เครื่องเอกซเรย์ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือด Bi-plane DSA หรือ Biplane Digital Subtraction Angiography ใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ตับ และหลอดเลือดแขน ขา และหลอดเลือดทั่วร่างกายถือเป็นหนึ่งในทางเลือกการรักษาโรคได้หลายชนิดแบบไม่ต้องผ่าตัด หรือเรียกว่า รังสีร่วมรักษา

จุดเด่นของเครื่อง Bi-Plane DSA

  • ถ่ายภาพได้ 2 ระนาบพร้อมกัน (ด้านหน้าและด้านข้าง)
  • ภาพที่ได้มีคุณภาพสูง คมชัด เห็นสายสวนหลอดเลือดขนาดเล็กมากชัดเจน
  • ให้ภาพเสมือนจริง เป็นภาพ 3 มิติ ช่วยให้เห็นพยาธิสภาพของเส้นเลือดในส่วนต่าง ๆ ชัดเจน
  • ลดความเสี่ยงและผลข้างเคียงจากการตรวจ เพราะฉีดสารทึบรังสีเพียงครั้งเดียว ผู้ป่วยจึงได้รับรังสีและสารทึบรังสีน้อยลง
  • แพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยโรคได้สะดวกและรวดเร็ว โดยเฉพาะโรคที่ต้องอาศัยการวินิจฉัยอย่างทันท่วงที เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น
  • เพิ่มความมั่นใจในผลการตรวจรักษา เสริมศักยภาพการรักษาให้มีประสิทธิภาพ

     เป็นการตรวจการทำงานของเซลล์ประสาทสมอง โดยการบันทึกการเปลี่ยนแปลงของประจุไฟฟ้าในสมอง ที่ส่งสัญญานไฟฟ้าต่อกันเป็นทอดๆ หรือที่เรียกกว่า คลื่นไฟฟ้าสมอง โดยลักษณะคลื่นจะมีความถี่ และความสูงต่ำต่อเนื่อง แสดงออกมาในรูปแบบของกราฟบนหน้าจอ หลังจากนั้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางระบบประสาทและสมองจะเป็นผู้แปลผล ว่าปกติหรือผิดปกติแบบใด การบันทึกคลื่นสมองนี้ จะทำภายใต้ภาวะต่างๆ เช่น ขณะตื่น ขณะหลับ ระหว่างชัก ระหว่างกระตุ้นด้วยแสงหรืออื่นๆ

ข้อบ่งชี้ในการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง

  • เพื่อวินิจฉัยโรคลมชัก หรือติดตามผลการรักษาโรคลมชัก
  • เพื่อวินิจฉัยพยาธิสภาพที่สมอง เช่น ผู้ป่วยที่มีเนื้องอกที่สมอง หรือ ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุที่ศีรษะ หรือหลังผ่าตัดสมอง
  • เพื่อประเมินระดับความรู้สึกตัว เช่น ในผู้ป่วยภาวะโคม่า หรือซึมลง
  • เพื่อวินิจฉัยภาวะสมองตาย (Brain death)
  • เพื่อวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับปัญหาการนอนหลับ

TMS (Transcranial Magnetic Stimulation)

       TMS คือ เครื่องกระตุ้นเซลล์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยใช้หลักการเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า กระตุ้นให้เซลล์ประสาทสมองประสานงานเชื่อมต่อกันได้ดีขึ้น โดยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรวม

The us food and drug administration (FDA) ได้มีการรับรองให้สามารถใช้เครื่อง TMS ในการรักษาโรคดังนี้

  • โรคซึมเศร้า ที่ดื้อต่อการรักษาด้วยยา
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ
  • โรคปวดศีรษะจากไมเกรน

และสามารถใช้ฟื้นฟูผู้ป่วยกลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต ขยับร่างกายไม่ได้ครึ่งซีก มีปัญหาด้านการพูด การสื่อสาร และการกลืนอาหาร ก็สามารถใช้เครื่องTMS เพื่อฟื้นฟูอาการได้ เมื่อทำควบคู่กับกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถเห็นผลได้ดีกว่าการทำกายภาพเพียงอย่างเดียว

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มโรคอื่นๆที่สามารถฟื้นฟูด้วยเครื่อง TMS เช่น

  • ​โรคที่เกิดจากการบาดเจ็บหรือผิดปกติของระบบประสาทสมอง หรือไขสันหลัง เช่นโรคพาร์กินสัน โรคลมชัก
  • ​ผู้ป่วยที่มีอาการปวด โดยสามารถลดความเจ็บปวดเรื้อรังจากระบบประสาท ภาวะกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ปวดกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ ปวดหลังเรื้อรัง ได้

เทคโนโลยี TMS ค่อนข้างมีความปลอดภัยเมื่ออยู่ภายใต้การประเมินและดูแลของแพทย์ และเจ้าหน้าที่  เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเทคโนโลยีนี้ มีผลอยู่ในวงจำกัดที่แคบมาก เพียง 1-3 เซนติเมตร จากหัวกระตุ้น จึงไม่มีผลกระทบที่อันตรายต่ออวัยวะของร่างกาย มีเพียงข้อห้ามใช้ในบุคคลที่ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจชนิดที่ฝังในร่างกาย หรือใส่เครื่องระบายน้ำในโพรงสมอง ผู้ป่วยที่มีความดันในกระโหลกศีรษะสูง และผู้ป่วยที่มีอวัยวะเทียมที่เป็นโลหะที่เพิ่งใส่มาไม่นาน

และอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังทำการกระตุ้นด้วยเครื่องTMs อาจมีอาการปวด  และเวียนศีรษะเพียงเล็กน้อย และมีโอกาสทำให้เกิดการชักเกร็งกระตุก เพียง 2% เท่านั้น

ข้อมูลติดต่อ

โทร 044-015-999 หรือ โทร 1719

ศูนย์สมองและระบบประสาท เปิดให้บริการ

วันจันทร์–วันศุกร์     เวลา 08.00-19.00 น.

วันเสาร์–วันอาทิตย์   เวลา 08.00-17.00 น.

สถานที่ตั้ง ศูนย์สมองและระบบประสาท ชั้น 4 โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม