Bangkok Hospital Ratchasima

อาการของโรคพาร์กินสัน

โดยปกติแล้วโรคนี้จะมีอาการที่แสดงออกมามาก หรือน้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง แต่ที่เป็นเหมือนกันคือ โรคนี้จะค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลันเหมือนโรคทางสมองอื่นๆ และอาการจะเป็นมากขึ้นไปด้วยหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน โดยอาการที่แสดงออกมีดังนี้

  • อาการสั่นเกร็ง (Tremor) มักจะมีอาการที่นิ้วมือ แขน ขา โดยจะเกิดอาการสั่นเมื่อไม่ได้เคลื่อนไหว และไม่สามารถควบคุมได้ หากเริ่มทำกิจกรรมอาการสั่นจะลดลง หรือหายไป และอาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อร่วมด้วย
  • เคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) ใช้เวลานานในการเคลื่อนไหว หรือช้ากว่าปกติ ทำให้เกิดความยากลำบากในชีวิตประจำวัน และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุตามมาได้
  • ท่าเดินผิดปกติ (Posture instability) ผู้ป่วยจะมีอาการก้าวเดินสั้น ๆ ในช่วงแรกและจะก้าวยาวขึ้น จนเร็วมาก และไม่สามารถหยุดได้ทันที นอกจากนี้ยังอาจมีอาการหลังค่อม แขนไม่แกว่ง หรือเดินแข็งทื่อเหมือนหุ่นยนต์
  • การแสดงสีหน้าเหมือนใส่หน้ากาก (Masking face) ผู้ป่วยจะมีใบหน้าเฉยเมย เวลาพูดมุมปากจะยกขึ้นเพียงเล็กน้อยทำให้ดูเหมือนไม่มีอารมณ์ร่วม
  • พูดเสียงเบา ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการพูดไม่ชัด พูดเสียงเบา หรือเสียงอาจหายไปในลำคอ บางรายอาจมีอาการพูดรัวเร็ว ระดับเสียงในการพูดอยู่ในระดับเดียวกันตลอด และอาจมีน้ำลายสอออกมาคลออยู่ที่มุมปาก

การดูแลรักษา

เพื่อประคับประคองอาการให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

  • การรับประทานยา เพื่อเพิ่มปริมาณสารเคมีโดปามีนให้เพียงพอต่อความต้องการของ ใช้ในระยะเริ่มต้นและระยะกลางของโรค ช่วยให้เซลล์ประสาทที่เหลือทำงานได้ดีขึ้นร่างกาย โดยแพทย์จะพิจารณาการให้ยาตามอาการ
  • กายภาพบำบัด เช่น ฝึกการเดิน การนั่ง การนอน การพูด และการทรงตัว เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างใกล้เคียงปกติมากที่สุด
  • การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า การผ่าตัดจะใช้วิธีฝังขั้วไฟฟ้าเพื่อไปกระตุ้นสมอง เรียกว่า การผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (Deep brain stimulation) มักใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการยังไม่มาก หรือผู้ที่มีอาการแทรกซ้อนจากการรับประทานยาที่ใช้มาเป็นระยะเวลานาน ช่วยกดการทำงานที่ผิดปกติของเซลล์สมอง

การดูแลผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน

  • ผู้ป่วยโรคนี้จะมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว เพราะจะมีอาการสั่น และไม่สามารถควบคุมการเดินได้อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ คนใกล้ชิดจึงควรช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ หรือกิจกรรมที่ผู้ป่วยสนใจ
  • ดูแลเรื่องการรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ รวมถึงดูแลเรื่องการรับประทานยาให้ตรงตามที่แพทย์แนะนำ
  • ในด้านจิตใจ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอารมณ์ และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยจะพยายามแยกตัวเองออกจากสังคม และรู้สึกกลัวว่าจะไม่มีใครดูแล จนเกิดความท้อแท้ และหมดกำลังใจ คนในครอบครัวจึงควรดูแลอย่างใกล้ชิด และทำความเข้าใจโรคที่ผู้ป่วยกำลังเป็นอยู่ด้วย
  • หมั่นให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัด เพื่อฝึกการทรงตัว โดยการฝึกเดินให้ได้มากที่สุด หากผู้ป่วยมีอาการเดินลำบากสามารถใช้ไม้เท้าช่วยพยุงตัวได้
  • กรณีดูแลผู้ป่วยติดเตียง ต้องระวังการป้อนอาหาร ควรป้อนคำเล็ก ๆ ช้า ๆ เพราะผู้ป่วยอาจเกิดอาการสำลักอาหารและอาจส่งผลให้ติดเชื้อได้
  • ดูแลเรื่องสุขอนามัย และหมั่นพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมงเพื่อป้องกันแผลกดทับ
ข้อมูลติดต่อ

โทร. 044-015-999 หรือ โทร. 1719

ศูนย์สมองและระบบประสาท เปิดให้บริการ
  • วันจันทร์วันศุกร์       เวลา 08.00-19.00 .
  • วันเสาร์วันอาทิตย์   เวลา 08.00-17.00 .
สถานที่ตั้ง ศูนย์สมองและระบบประสาท ชั้น โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม