Bangkok Hospital Ratchasima

คลินิกโรคลมชัก 

โรคลมชัก (Seizures) เกิดจากการรบกวนของกระแสไฟฟ้าในสมองที่ไม่สามารถควบคุมได้ ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว ความรู้สึก หรือพฤติกรรมที่อาจเปลี่ยนแปลงไปโดยอาจรู้หรือไม่รู้ตัวขณะเกิดอาการลมชัก

(ใส่คลิปแพทย์สอนโรคลมชัก พ.ภาณุพงศ์)

การวินิจฉัยของอาการชัก

  • การตรวจระบบประสาท เพื่อค้นหาปัญหาเกี่ยวกับสมองและระบบประสาท
  • การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาสัญญาณของการติดเชื้อ ภาวะทางพันธุกรรม ระดับน้ำตาลในเลือด หรือความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์
  • การเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง เพื่อตรวจหาการติดเชื้อที่อาจทำให้เกิดอาการชัก
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง Electroencephalogram (EEG) เพื่อตรวจสอบการทำงานของสมองและคาดการแนวโน้มของการเกิดซ้ำของอาการชัก และเพื่อตอบคำถามว่าการชักนั้นเกิดจากโรคลมบ้าหมูหรือไม่
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) เพื่อเปิดเผยความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นในสมอง
  • การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) เพื่อตรวจหาร่องรอยของโรคหรือความผิดปกติที่อาจทำให้เกิดอาการชัก

การรักษา

  • รักษาตามอาการที่เป็นต้นเหตุของการชัก
  • แพทย์จะพิจารณายากันชัก ซึ่งมีวิธีการให้ ประสิทธิภาพ รวมถึงผลข้างเคียงที่แตกต่างกัน
  • หากอาการชักควบคุมไม่ได้ ปัจจุบันมีวิธีการรักษาหลายอย่าง เช่น Ketone diet, การกระตุ้นเส้นประสาท vagus รวมถึง การผ่าตัด เป็นต้น

การดูแลเพื่อลดโอกาสการเกิดการชัก รวมถึงการดูแลเมื่อมีอาการชัก

  1. หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น ต่างๆ เช่น ไข้ ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ รับประทานยาบางชนิดที่มีผลต่อระดับยากันชัก
  2. ผู้ป่วยควรกินยากันชักอย่างสม่ำเสมอ และไม่ควรปรับยากันชักเอง
  3. เมื่อมีอาการชัก ญาติควรจดจำลักษณะอาการ หรือถ่าย Video ไว้ เพื่อที่แพทย์จะได้ให้คำแนะนำอย่างถูกต้อง
  4. เมื่อมีอาการชัก แนะนำให้ญาติจับผู้ป่วยนอนตะแคง หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่เป็นของแข็งงัดปาก เนื่องจากจะทำให้เกิดการบาดเจ็บในช่องปากมากกว่าการชัก
  5. เฝ้าสังเกตอาการผู้ป่วยจนกว่าจะหยุดชัก โดยระหว่างนั้นให้ติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้าน
ข้อมูลติดต่อ

โทร. 044-015-999 หรือ โทร. 1719

ศูนย์สมองและระบบประสาท เปิดให้บริการ
  • วันจันทร์วันศุกร์       เวลา 08.00-19.00 .
  • วันเสาร์วันอาทิตย์   เวลา 08.00-17.00 .
สถานที่ตั้ง ศูนย์สมองและระบบประสาท ชั้น โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม