Bangkok Hospital Ratchasima

ศูนย์ตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ (Mobile Checkup Center)

     บริการด้านอาชีวเวชศาสตร์ เป็นการดูแลสุขภาพของคนทำงาน ครอบคลุมตั้งแต่การป้องกัน วินิจฉัย รักษาโรคและการฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงาน โดยทีมแพทย์ทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ แพทย์สหสาขาและทีมพยาบาลอาชีวเวชอนามัยที่มีประสบการณ์ เน้นการป้องกันไม่ให้คนทำงานเกิดการบาดเจ็บ เจ็บป่วย และส่งเสริมในคนทำงานมีสุขภาพที่ดี โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านเวชศาสตร์ป้องกัน องค์ความรู้ด้านอาชีวอนามัย และข้อกำหนดหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพของคนทำงาน  โดยบริการด้านอาชีวเวชศาสตร์ของทางโรงพยาบาลมีดังนี้

1. การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการทำงาน (Health risk assessment) อาศัยการเดินสำรวจสถานประกอบการ (walk through survey) เพื่อประเมินโอกาสและความรุนแรงในการสัมผัสสิ่งคุกคามในการทำงาน นำไปสู่การควบคุมป้องกัน และออกแบบรายการตรวจสุขภาพที่เหมาะสม 

2. การตรวจสุขภาพทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ ประกอบด้วย

    • การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน (Preplacement health examination)
    • การตรวจสุขภาพเพื่อประเมินความพร้อมในการทำงาน (Fitness for work assessment) เช่น ผู้ที่ทำงานบนที่สูง ผู้ที่ทำงานในที่อับอากาศ ผู้ที่ทำงานขับรถสาธารณะ ผู้ที่ทำงานสัมผัสอาหาร ผู้ที่ทำงานนอกชายฝั่ง เป็นต้น
    • การตรวจสุขภาพประจำปีตามปัจจัยเสี่ยงเสี่ยง เช่น ผู้ที่ทำงานสัมผัสเสียงดัง ผู้ที่ทำงานสัมผัสสารเคมี ผู้ที่สัมผัสรังสี เป็นต้น

3. การประเมินความพร้อมในการกลับเข้าทำงาน (Return to work health examination) ในคนทำงานที่เจ็บป่วยหรือบาดเจ็บที่ต้องหยุดงานตั้งแต่ 3 วัน ขึ้นไป เพื่อประเมินว่าคนทำงานมีความพร้อมในการกลับเข้าทำงานหรือไม่

4. การวินิจฉัยความเกี่ยวเนื่องในงาน (Work relatedness) ในกรณีที่คนทำงานมีผลตรวจสุขภาพที่ผิดปกติ หรือมีการเจ็บป่วย บาดเจ็บที่อาจเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน แพทย์อาชีวเวชศาสตร์จะมีส่วนในการประเมินความเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน เพื่อประโยชน์ในการใช้สิทธิกองทุนทดแทน หรือเป็นการป้องกันไม่ให้คนทำงานเกิดการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บจากการทำงาน

5. การตรวจพิเศษทางอาชีวเวชศาสตร์ 

    • การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometry) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบว่าผู้เข้ารับการตรวจมีความสามารถในการได้ยินปกติดีหรือไม่หรือดีมากน้อยเพียงใด
    • การตรวจสมรรถภาพปอด (Pulmonary function test) มีวัตถุประสงค์เพื่อดูความสามารถในการทำหน้าที่ของปอดในด้านต่างๆ โดยการตรวจสไปโรเมตรีย์ (Spirometry) เป็นวิธีการตรวจพื้นฐานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการใช้ประเมินสมรรถภาพปอด
    • การตรวจสายตาทางอาชีวเวชศาสตร์ (occupational vision test เป็นการทดสอบความสามารถของการมองเห็นเพื่อประเมินความเหมาะสมของสายตาในการทำงาน โดยเครื่องทดสอบสายตา (Vision screener)
    • การตรวจตัวบ่งชี้ทางกายภาพสำหรับการสัมผัส (Biomarker of exposure) เป็นการตรวจวัดตัวสารนั้นหรือ metabolite ของสารนั้นในร่างกาย เพื่อให้ทราบว่าพนักงานมีการสัมผัสสารเคมีนั้นๆ หรือไม่ เช่นการตรวจตะกั่วในเลือด เป็นตัวบ่งชี้ทางกายภาพสำหรับการสัมผัสสารตะกั่ว
    • การประเมินสมรรถภาพทางกาย เป็นการวัดความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ (muscular strength and endurance) เช่น การวัดแรงบีบมือ (grip strength) เพื่อดูความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือและแขนส่วนปลาย การวัดแรงเหยียดขา เพื่อดูความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและต้นขา 

6. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ (Health promotion) เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดีในกับคนทำงาน เช่น การอบรมให้ความรู้เรื่องโรคจากการทำงาน การอบรมให้ความรู้ด้านการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง (NCDs) การเลิกบุหรี่หรือสารเสพติด การจัดการความเครียด และปัญหาทางสุขภาพจิตในสถานที่ทำงาน เป็นต้น 

7. การให้คำปรึกษาด้านอาชีวอนามัยให้กับสถานประกอบการ เช่น การออกแบบรายการตรวจสุขภาพที่เหมาะสม การเฝ้าระวังสุขภาพ การป้องกันการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน การจัดการผลตรวจสุขภาพ การประเมินการกลับเข้าทำงาน การส่งเสริมสุขภาพ การเตรียมพร้อมภาวะฉุกเฉินในสถานประกอบการ เป็นต้น

สำหรับบริการตรวจสุขภาพนั้น 

    • ดำเนินการตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการตรวจสุขภาพลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง พ.ศ. 2563
    • รายงานผลตรวจรวดเร็วภายใน 30 วัน
    • การตรวจสิ่งส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ เป็นไปตามมาตรฐาน ทำให้ได้ผลตรวจที่ถูกต้องและแม่นยำ
    • การตรวจทางรังสีวินิจฉัยมีการอ่านผลโดยรังสีแพทย์
    • การจัดการผลตรวจอ้างอิงตามหลักกฎหมายและหลักวิชาการ เพื่อให้การดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายและสามารถนำไปใช้ในการดูแลสุขภาพของคนทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    • การวิเคราะห์ข้อมูล สามารถนำผลตรวจที่ได้มาเปรียบเทียบกับผลในปีก่อนๆ ได้ เช่นการเทียบผลตรวจสมรรถภาพการได้ยิน การเทียบผลสมรรถภาพปอด
    • ผลตรวจทางอาชีวเวชศาสตร์ทั้งหมดผ่านการตรวจสอบ แปลผล และรับรองผลโดยแพทย์วุฒิบัตรอาชีวเวชศาสตร์
    • การบริการหลังการตรวจ มีทีมแพทย์พยาบาลด้านอาชีวอนามัยให้คำปรึกษาและการจัดการที่เหมาะสม

ผลตรวจสุขภาพจะไม่ใช่แค่ตัวเลข คำแปล คำแนะนำในกระดาษอีกต่อไป ความยุ่งยากในการจัดการผลตรวจของสถานประกอบการจะหมดไป เราเป็นมากกว่าผู้ให้บริการ แต่เราคือเพื่อนสุขภาพพร้อมเดินเคียงข้างคุณ

ข้อมูลติดต่อ

โทร. 044-015-999 หรือ โทร. 1719

ศูนย์ตรวจสุขภาพ เปิดให้บริการ
  • วันจันทร์วันอาทิตย์    เวลา 07.00-17.00 .
สถานที่ตั้ง ศูนย์ตรวจสุขภาพ ชั้น 4 โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา