การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า

การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า หรือ Electrodiagnostic study

เป็นเทคนิคที่ใช้ตรวจวัดสัญญาณไฟฟ้าในเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ เพื่อใช้ในการวินิจฉัยและพยากรณ์พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในเส้นประสาทหรือกล้ามเนื้อ โดยการตรวจประกอบด้วย2ส่วนคือ

1) การตรวจการนำไฟฟ้าของเส้นประสาท หรือ Nerve conduction study (NCS)และ

2การตรวจวินิจฉัยไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ หรือ Electromyographic study(EMG)

ประโยชน์ในการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อด้วยเครื่องตรวจ EMG

เพื่อใช้ในการตรวจหาตำแหน่งและความรุนแรงของความผิดปกติในระบบประสาทและกล้ามเนื้อ รวมถึงเพื่อใช้ในการติดตามผลการรักษาและการฟื้นตัวของโรค โดยการตรวจนี้จะมีประโยชน์ในโรคต่างๆดังนี้

  • โรคของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 อักเสบ ซึ่งส่งผลให้มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้า หรือ Bell’s palsy
  • โรคของไขสันหลังส่วนเซลล์สั่งการ(Anterior horn cell) เช่น โรค ALS
  • โรคของรอยต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น โรค Myasthenia gravis
  • โรคของรากประสาทไขสันหลัง เช่น รากประสาทถูกกดทับจากกระดูกสันหลังส่วนคอหรือหลังเสื่อม
  • โรคของเส้นประสาทส่วนปลาย เช่น อาการชามือ เท้า จากเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบ หรือถูกกดทับ
  • โรคของกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง

ข้อบ่งชี้ในการตรวจ EMG

  • ผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง
  • ผู้ที่มีอาการชาปลายมือ ปลายเท้า
  • ผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงทั่วๆ

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ EMG

          โดยทั่วไปไม่ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษก่อนทำการตรวจ ไม่ต้องงดน้ำงดอาหารก่อนทำการตรวจ สามารถรับประทานยาโรคประจำตัวของท่านได้ตามปกติ ยกเว้นกรณีท่านรับประทานยา Mestinon รักษาอาการโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง Myasthenia gravis ให้งดรับประทานยา ก่อนการตรวจ1วันเพื่อไม่ให้รบกวนการแปลผล นอกจากนั้นควรทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะทำการตรวจให้สะอาดและงดใส่เครื่องประดับโลหะบริเวณที่จะทำการตรวจ

วิธีการตรวจวินิจฉัย EMG

การตรวจจะประกอบไปด้วย ส่วนคือ

1) การตรวจการนำไฟฟ้าของเส้นประสาท หรือ Nerve conduction study

เป็นการตรวจโดยปล่อยกระแสไฟฟ้าในขนาดที่ปลอดภัย กระตุ้นตามแนวทางเดินของเส้นประสาท ในส่วนต่างๆของร่างกายที่สงสัยความผิดปกติ และใช้อุปกรณ์ตรวจรับสัญญาณ ซึ่งจะแสดงผลเป็นกราฟทางหน้าจอ เพื่อใช้ในการตรวจหาความผิดปกติของเส้นประสาทในบริเวณที่สงสัยว่ามีรอยโรค

2) การตรวจวินิจฉัยไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ หรือ Electromyographic study

ตรวจโดยใช้เข็มขนาดเล็กตรวจรับสัญญาณผิดปกติในกล้ามเนื้อ โดยแพทย์จะนำข้อมูลจากการตรวจทั้งสองส่วนมาประกอบกันเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค

การตรวจ EMGมีความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนหรือไม่

          การตรวจนี้เป็นการตรวจที่ค่อนข้างปลอดภัย สามารถตรวจได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เวลาตรวจอาจรู้สึกเหมือนถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้าอาจรู้สึกไม่สุขสบายเล็กน้อยแต่ภายหลังหยุดให้ไฟฟ้ากระตุ้น จะไม่มีอาการตกค้าง นอกจากนั้นอาจมีอาการระบบจากการใช้เข็มตรวจกล้ามเนื้อได้เล็กน้อย ซึ่งอาการมักหายได้เองใน 1-3วัน

ข้อจำกัดในการตรวจ EMG

  • หากผู้ป่วยใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ กรุณานาแจ้งแพทย์ก่อนทำการตรวจเนื่องจากจะต้องหลีกเลี่ยงการตรวจในบริเวณใกล้เครื่องกระตุ้นหัวใจ
  • กรณีผู้ป่วยมีปัญหาเลือดออกผิดปกติ หรือรับประทานยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาต้านเกร็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด กรุณาแจ้งแพทย์ก่อนทำการตรวจ เนื่องจากต้องระมัดระวังขณะใช้เข็มตรวจกล้ามเนื้อ
  • หากผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวหรือไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจ อาจมีผลต่อการแปลผลตรวจได้
  • หากมีการติดเชื้อบริเวณที่จะทำการตรวจ อาจต้องหลีกเลี่ยงการใช้เข็มตรวจ เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค
พญ.มัชฌิมามาธ ชำนาญกรม
เฉพาะทาง : Rehabilitation Medicine
ข้อมูลติดต่อ

โทร. 044-015-999 หรือ โทร. 1719

ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เปิดให้บริการ
  • วันจันทร์วันอาทิตย์    เวลา 08.00-20.00 .
สถานที่ตั้ง ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 4 โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา