Bangkok Hospital Ratchasima

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเรื้อรัง

        โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Ischemic Cardiomyopathy) เป็นผลมาจากภาวะหัวใจล้มเหลวหรือโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดแดงทำหน้าที่นำเลือดไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดภาวะตีบตันส่งผลทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้อย่างเพียงพอจึงทำให้เกิดความเสียหายขึ้น ถ้าหากคุณมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่หัวใจห้องล่างซ้าย หัวใจของคุณจะพองโตขึ้นและเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนเเรงส่งผลทำให้หัวใจไม่สามารถปั๊มเลือดได้และทำให้เกิดหัวใจวายได้

สาเหตุทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

  1. พันธุกรรม สำหรับบุคคลที่มีประวัติในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ

  2. อายุที่เพิ่มมากขึ้นจากสถิติพบในเพศชายอายุ ตั้งแต่ 40 ปี และเพศหญิงตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป

  3. เพศจากสถิติพบว่าเพศชายมีโอกาสและปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมากกว่าเพศหญิง

  4. การสูบบุหรี่สารนิโคตินในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเล็กลง

  5. โรคประจำตัวอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น

  6. การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง

  7. ขาดการออกกำลังกายทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เผาผลาญพลังงานน้อย และการสะสมของไขมัน

สัญญาณเตือนโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

  1. เจ็บหน้าอก (Chest Pain) ทั้งแบบทันทีทันใดหรือเจ็บเป็นๆ หายๆอาการแน่นหน้าอกหายใจไม่ค่อยออก อึดอัด จุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ เจ็บแน่นคล้ายของหนักมากดทับ หรือบีบรัด อาจร้าวไปบริเวณต่างๆ เช่น คอ หัวไหล่หรือแขนด้านซ้ายมักเป็นนานติดต่อกันมากกว่า 20 – 30 นาที นั่งพักแล้วอาการไม่ดีขึ้น

  2. เหนื่อยขณะออกแรง (Dyspnea)

  3. เหนื่อย เพลีย นอนราบไม่ได้ (Congestive Heart Failure)

  4. หมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น (Unconscious or Cardiac Arrest)

วิธีรักษาโรคหัวใจขาดเลือดทำอย่างไรบ้าง

        แพทย์จำเป็นต้องระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดก่อนเพื่อวางแผนการรักษา ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ดังนั้นแพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่ผสมผสานกันได้แก่

 
 

• เปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิต

• การใช้ยารักษา

• การผ่าตัดหรือการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ

การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต ควรปรับเปลี่ยนให้เป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติเป็นประจำในระยะยาว

1.ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีไขมันต่ำรวมถึงมีคอลเลสตอรอลและโซเดียมต่ำ

2.การออกกำลังกายที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อสุขภาพ

3.เลิกสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการใช้ยาและลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลให้น้อยลง

การใช้ยา

        แพทย์จะให้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนรวมถึงช่วยปรับปรุงการทำงานของหัวใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการที่เป็นสาเหตุของภาวะขาดเลือดได้แก่

  • ยาเบต้าบล็อกเกอร์เป็นยาที่ใช้ช่วยลดความดันเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจ

  • ยาปิดกั้นแคลเซียมนำมาใช้เพื่อขยายหลอดเลือดและลดความดันเลือด

  • ยากลุ่ม aldosterone inhibitor เป็นยาที่ใช้ลดควาดันและขับของเหลวส่วนเกินออกจากร่างกายเพื่อช่วยบรรเทาอาการบวมเเละหายใจสั้น

  • ยาขับปัสสาวะชนิดอื่น เพื่อขับของเหลวส่วนเกินและลดความดันเลือดรวมถึงลดอัตราการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจให้เป็นปกติ

  • ยาชนิดอื่นๆที่ช่วยควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ

  • ยาเจือจางเลือด

  • ยาที่ใช้ลดภาวะคอลเลสเตอรอลสูง

การผ่าตัดและวิธีการรักษาประเภทอื่นๆ

แพทย์อาจเเนะนำให้วิธีการผ่าตัดหรือการรักษาวิธีอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการรักษาหลอดเลือดหัวใจหรือส่วนอื่นของหัวใจ เช่นวิธีดังต่อไปนี้

1. การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เครื่องกระตุ้นหัวใจหรือใช้อุปกรณ์ดังกล่าวทั้งสองอย่างเพื่อกระตุ้นการทำงานของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

2. การใช้สายสวนพร้อมกับอุปกรณ์ตัดหมุนเพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในหลอดเลือด 

3. การทำบอลลูนหัวใจเพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดภายในเส้นเลือดที่เกิดการตีบตัน

4. การผ่าตัดใส่ขดลวดตาข่าย เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อทำให้หลอดเลือดหัวใจเปิดอยู่ตลอดเวลา

5. การฉายแสงบำบัดหลังจากใส่ลวดตาข่ายที่หลอดเลือดหัวใจ เป็นการป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบไม่ให้เกิดขึ้นอีกครั้ง

6. การผ่าตัดบายพาสเส้นเลือดหัวใจ

การป้องกันการป้องกันไม่ให้เกิดโรคคือวิธีที่ดีที่สุด ซึ่งเราสามารถป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังนี้

1. ไม่สูบบุหรี่

2. ควบคุมความดันโลหิต และเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

3. หลีกเลี่ยงอาหารหวาน และเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ

4. ทานอาหารที่มีส่วนช่วยบำรุงหัวใจ เช่น ปลาทะเล ผักใบเขียว และผลไม้ อัลมอลด์ ถั่วชนิดต่างๆ ธัญพืชไม่ขัดสี อะโวคาโด น้ำมันมะกอก เป็นต้น

5. ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ

6. ออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ

7. ฝึกสมาธิ ทำให้จิตใจให้ผ่องใส

8. หมั่นตรวจเช็คสุขภาพของตนเองเป็นประจำ ด้วยการตรวจสุขภาพประจำปี

 
ข้อมูลติดต่อ

– โทร. 044-015-999 หรือ โทร. 1719

ศูนย์หัวใจ เปิดให้บริการ
  • – วันจันทร์วันพฤหัสบดี  เวลา 08.00-19.00 .
  • – วันศุกร์   เวลา  08.00-17.00 .
  • – วันเสาร์  เวลา  08.00-15.00 .
  • – วันอาทิตย์  เวลา 08.00-16.00 .
สถานที่ตั้ง ศูนย์หัวใจ ชั้น โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา
ผ่าตัดหัวใจ,โรคหัวใจ,หลอดเลือดหัวใจ