Bangkok Hospital Ratchasima

ท้องผูก Constipation

 

        อาการท้องผูก หมายถึง คนไข้มีภาวะผิดปกติของการถ่ายอุจจาระ ซึ่งประกอบไปด้วย จำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระน้อยผิดปกติ โดยทั่วไปน้อยกว่า ครั้งต่อสัปดาห์ โดยที่อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนที่แข็งขึ้น หรือเป็นก้อนที่เล็กลง ความชุกของอาการท้องผูกพบได้ประมาณร้อยละ 5 – 20 และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงตั้งแต่วัยกลางคน อีกกลุ่มที่พบบ่อยคือ กลุ่มผู้สูงอายุ มากกว่า 60- 65 ปีขึ้นไป

สาเหตุท้องผูก ที่พบบ่อย

  1. เรื่องของการปฏิบัติตัว มีคนไข้จำนวนไม่น้อยที่ชอบรับประทานอาหารที่ไม่ค่อยมีกากใย เช่น ไม่ค่อยรับประทานผักและผลไม้ ดื่มน้ำน้อย หรือไม่ชอบออกกำลังกาย เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ง่าย ซึ่งหมายถึงคนไข้ไม่ยอมช่วยเหลือและเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง

  2. ยา มีคนไข้จำนวนหนึ่งที่มีสาเหตุมาจากการรับประทานยาบางกลุ่ม คนไข้ที่สูงอายุมีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็นยาคลายเครียด ยาแก้โรคซึมเศร้า ยาแก้ความดันสูง ยาลดกรด เป็นต้น

  3. มีโรคประจำตัวอื่นอยู่แล้ว ทำให้เกิดอาการท้องผูก เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคระบบประสาท นอกจากนี้อาจจะมีภาวะที่สำคัญ เช่น ก้อนเนื้องอก หรือมะเร็งเข้าไปอุดกั้นบริเวณลำไส้ ทำให้ถ่ายอุจจาระไม่ออก นอกจากนี้เป็นสาเหตุที่เราพบได้น้อย เช่น คนไข้มีภาวะการเคลื่อนไหวของตัวลำไส้น้อยลง มีการทำงานของส่วนอุ้งเชิงกรานในการขับถ่ายอุจจาระผิดปกติ

การรักษาท้องผูก

        ให้รักษาที่สาเหตุ ถ้าคนไข้มีอาการท้องผูกมานาน โอกาสที่จะเป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง จะมีน้อย ส่วนมากในกลุ่มคนไข้ที่เป็นมานานมักจะเป็นท้องผูกเรื้อรัง แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกาย ในรายที่สงสัยว่าจะมีความผิดปกติ หรือมีอาการเตือนถึงโรคร้ายแรง เช่น ปวดท้องมาก ถ่ายเป็นมูกเลือด น้ำหนักลด อาจจะมีการตรวจเลือด หรือแนะนำให้มีการตรวจเพิ่มเติมพิเศษ เช่น การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ sitz mark, manometry เพื่อดูการทำงานของตัวลำไส้

การรักษายังต้องเน้นการปฏิบัติตนของคนไข้ที่จะต้องช่วยแพทย์ ซึ่งประกอบไปด้วย

1. ให้ปรับปรุงอุปนิสัย เช่น รับประทานอาหารที่มีกากใยมากขึ้น ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 1.5 ลิตร ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หรือ รับประทานอาหารบางชนิด เช่น การดื่มน้ำลูกพรุน

2. ให้รับประทานยาระบาย บางชนิดที่มีความปลอดภัย ซึ่งจะต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์

3. การผ่าตัด ในกรณีที่พบว่ามีการเคลื่อนไหวของตัวลำไส้ใหญ่ที่ช้ามาก อาจจะต้องตัดลำไส้ออก

ข้อมูลติดต่อ

โทร. 044-015-999 หรือ โทร. 1719

วันและเวลาทำการ วันจันทร์วันอาทิตย์ เวลา 08.00-20.00 .
สถานที่ตั้ง ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ ชั้น โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา