Bangkok Hospital Ratchasima

หัวใจเต้นผิดจังหวะ,ตรวจหัวใจ.โรคหัวใจ,หัวใจผิดปกติ

เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว

ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติส่วนหนึ่งจะไม่มีอาการ ทำให้ไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ป่วยประสบปัญหาในการดำเนินชีวิต ตั้งแต่อัมพาตจนถึงเสียชีวิต

หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac arrhythmia) กลุ่มโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือโรคที่มีความผิดปกติของการนำไฟฟ้าภายในหัวใจ ส่งผลทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจผิดไปจากปกติ ลักษณะการเต้นของหัวใจอาจจะเต้นช้า เต้นเร็ว เต้นไม่สม่ำเสมอ หรือเต้นสะดุดก็ได้

ชนิดของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่พบได้บ่อย
  • โรคหัวใจห้องบนเต้นเร็ว (Supraventricular tachycardia ; SVT)
  • โรคหัวใจห้องล่างเต้นเร็ว (Ventricular tachycardia : VT)
  • โรคหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว (Atrial fibrillation, AF)
  • หัวใจห้องบนเต้นสะดุด (Premature atrial contraction, PAC)
  • หัวใจห้องล่างเต้นสะดุด (Premature ventricular contraction, PVC)
  • โรคหัวใจห้องบนเต้นช้า (Sick sinus syndrome, SSS)
  • โรคหัวใจห้องล่างเต้นช้า ไม่สัมพันธ์กับห้องบน (Atrioventricular block, AV block)
 
 
การตรวจวินิจฉัยกลุ่มโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ประกอบด้วย
  • การซักประวัติ และตรวจร่างกายเบื้องต้น
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography, ECG)

การตรวจพิเศษอื่นๆ ตามความเหมาะสม เช่น

  • การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiography)
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะเดินสายพาน (Exercise stress test)
  • การตรวจเอกซ์เรย์ปอด (Chest X-ray)
  • การตรวจผลเลือด

เนื่องจาก กลุ่มโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถมีอาการเป็นๆหายๆได้ ทำให้การตรวจ ณ ขณะที่ไม่มีอาการแล้วปกติได้ ทำให้มีความจำเป็นที่ต้องตรวจเพิ่มเติมโดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดพกพาหรือติดกลับไปที่บ้าน (Ambulatory ECG monitoring) ซึ่งประกอบไปด้วย

1. Holter monitoring

เครื่องติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจทุกๆจังหวะ เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง (หรือในบางรุ่น ติดได้ถึง วัน)

• ข้อดี ติดกับตัวตลอดเวลา ทำให้ได้ข้อมูลคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอดทั้งวัน

• ข้อเสีย มักจะติดได้ไม่เกิน 48 ชั่วโมง เพราะแบตเตอรี่จำกัด ทำให้ใช้วินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่มีอาการนานๆครั้งไม่ได้

• เหมาะกับผู้ที่มีอาการสงสัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ มากกว่า ครั้งต่อสัปดาห์

2. Event recorder

เครื่องที่ใช้เพื่อตรวจจับคลื่นหัวใจเป็นครั้งๆ ครั้งละ 30-60 วินาที ไม่ได้เปิดการตรวจจับตลอดเวลา

• ข้อดี สามารถเก็บไว้ตรวจได้นาน เนื่องจากไม่ต้องเปิดเครื่องไว้ตลอดเวลา

• ข้อเสีย ต้องมีอาการนานพอที่จะเก็บคลื่นไฟฟ้าหัวใจทัน (ประมาณ 30 วินาทีขึ้นไปไม่สามารถตรวจในคนที่มีอาการหมดสติได้

• เหมาะกับผู้ที่มีอาการสงสัยหัวใจเต้นผิดจังหวะนานๆเป็นที เช่น น้อยกว่า ครั้งต่อสัปดาห์ โดยแต่ละครั้งมีอาการนานพอที่จะหยิบเครื่องมาตรวจจับได้เอง

3. External loop recorder

เป็นเครื่องที่ติดตัวไว้ จับสัญญาณคลื่นหัวใจตลอดเวลา จะบันทึกข้อมูลไว้ก็ต่อเมื่อ หัวใจเต้นผิดจังหวะตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ หรือตอนที่เรากดให้บันทึก มักจะติดไว้ 1-4 สัปดาห์

• ข้อดี ติดกับตัวตลอดเวลา สามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจย้อนเวลาจากตอนที่กดบันทึกได้ประมาณ 20-60 วินาที

• ข้อเสีย ติดไว้กับตัวค่อนข้างนาน ต้องถอดออกเวลาอาบน้ำ และเปลี่ยนแผ่นติดผิวเอง

• เหมาะกับผู้ที่มีอาการนานๆครั้ง โดยแต่ละครั้งมีอาการสั้นๆ หรือมีหน้ามืดหมดสติ

ป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ…เริ่มต้นจากการดูแลสุขภาพตัวเอง

  • หลีกเลี่ยง “ความเครียด” เพราะเมื่อมีความเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนและสารสื่อประสาทประเภทต่างๆ ไปกระตุ้นหัวใจให้เต้นเร็วและเต้นผิดจังหวะได้
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น อย่าง ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มชูกำลัง และการสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรออกกำลังกายแบบหักโหมเกินไป
  • ให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพและพบแพทย์เมื่อสังเกตเห็นความผิดปกติ
 
 
 
 
ข้อมูลติดต่อ

โทร. 044-015-999 หรือ โทร. 1719

ศูนย์หัวใจ เปิดให้บริการ
  • วันจันทร์วันพฤหัสบดี  เวลา 08.00-19.00 .
  • วันศุกร์   เวลา  08.00-17.00 .
  • วันเสาร์  เวลา  08.00-15.00 .
  • วันอาทิตย์  เวลา 08.00-16.00 .
สถานที่ตั้ง ศูนย์หัวใจ ชั้น โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา