Bangkok Hospital Ratchasima

หัวใจ,โรคหัวใจ,ผ่าตัดหัวใจ,จี้ไฟฟ้าหัวใจ,สวนหัวใจ,ตรวจหัวใจ,ใจสั่น,หัวใจเต้นเร็ว

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

โดยปกติหัวใจของเราจะเต้นด้วยอัตรา 60 – 100 ครั้ง/นาที  ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หมายถึง

  1. ภาวะหัวใจเต้นเร็ว
  2. ภาวะหัวใจเต้นช้า
  3. ภาวะหัวใจเต้นสะดุด ไม่สม่ำเสมอ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น อาจเกิดจากความผิดปกติของ

  1. จุดกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ
  2. การนำไฟฟ้าหัวใจ
  3. เกิดจากทั้ง 2 อย่างร่วมกัน 

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจพบร่วมกับโรคหัวใจหลายชนิด ทั้งที่พบพยาธิสภาพ เช่น ลิ้นหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หรือหลอดเลือดหัวใจตีบตัน และไม่พบพยาธิสภาพ เช่น ไฟฟ้าหัวใจลัดวงจร

อาการของภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

        ผู้ป่วยอาจมีอาการใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นลม หมดสติ หรือหัวใจวาย ขึ้นกับอัตราเร็ว ระยะเวลาที่เกิด รวมทั้งพยาธิสภาพของหัวใจ อาการที่เกิดกับผู้ป่วยอาจทำให้เกิดความวิตกกังวล หรือกลัวจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้
          บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยได้รับคำแนะนำว่าอาการทั้งหมดเกิดจากความเครียด และได้รับยาคลายความวิตกกังวลหรือยานอนหลับมารับประทานเป็นระยะเวลานาน โดยอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้น จนมีความรู้สึกว่าเป็นโรคที่รักษาไม่หาย เกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ ปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ดีขึ้นสามารถค้นหาสาเหตุและให้การรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมได้ดีกว่าเดิมมาก

การดูแลเอาใจใส่เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง

ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ได้แก่

  • ความเครียด
  • ความวิตกกังวล
  • การพักผ่อนไม่พอเพียง
  • การออกกำลังกายหักโหม
  • การสูบบุหรี่
  • ดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลมที่มีสารคาเฟอีน
  • เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • การรับประทานยาหรือฉีดยาที่กระตุ้นหัวใจ
  • อาหารที่มีรสเค็มจัด

การวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ

        การวินิจฉัยว่าเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดปกติชนิดใด และมีพยาธิสภาพของหัวใจร่วมด้วยหรือไม่ แพทย์มักจะตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง การเดินบนสายพาน (โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติเกิดขึ้นขณะออกกำลังกาย) การติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจผ่านทางโทรศัพท์ และการกระตุ้นหัวใจในห้องปฏิบัติการ
การกระตุ้นหัวใจในห้องปฏิบัติการ ( Electrophysiological study ) ปัจจุบันนำมาใช้หาสาเหตุในผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีความผิดปกติที่หัวใจห้องบน ความผิดปกติของการนำไฟฟ้าที่หัวใจห้องล่าง หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ ผู้ป่วยที่รอดจากการปฏิบัติการกู้ชีพ และในผู้ป่วยที่เป็นลมหมดสติบ่อย ๆโดยหาสาเหตุไม่ได้

ทำไมต้องรักษา
          ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติส่วนหนึ่งจะไม่มีอาการ ทำให้ไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น อันจะทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวประสบปัญหายุ่งยากในการดำเนินชีวิต ตั้งแต่อัมพาตจนถึงเสียชีวิต
          ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่พบมากที่สุด คือ หัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่เรียกว่า Atrial fibrillation ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดอัมพาตได้สูงถึง 10-15 % ต่อปี เนื่องจากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในหัวใจจากการที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะหลุดลอยออกไปอุดหลอดเลือดสมอง เกิดภาวะหัวใจอ่อนกำลังอันเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สูงขึ้นเมื่อพบร่วมกับโรคเบาหวาน หลอดเลือดหัวใจอุดตัน จึงเห็นได้ว่าในระยะยาวเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนแล้วจะเป็นการยากที่จะรักษาให้ผู้ป่วยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตดีเหมือนเดิม

การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ

การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ อาจทำได้ โดย

  • การรักษาด้วยยา แพทย์อาจรักษาโดยการใช้ยาเพียงอย่างเดียว โดยการให้ยาต้านการเต้นผิดปกติ
  • การจี้รักษาด้วยพลังงานความร้อนเท่าคลื่นวิทยุ โดยใช้สายสวนพิเศษ (Radiofrequency Catheter Ablation)
    เป็นวิธีการรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติที่ได้ผลดีถึงดีมาก (80 –95%) โดยการสอดสายสวนไปวางที่ตำแหน่งต่างๆ ในหัวใจ เพื่อวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และใช้กระตุ้นหัวใจ หลังจากนั้นแพทย์จะสอดสายสวนพิเศษเข้าไปอีก 1 เส้น เพื่อหาตำแหน่งที่หัวใจนำไฟฟ้าเร็วกว่าปกติ เมื่อได้ตำแหน่งที่ต้องการ แพทย์จะปล่อยกระแสไฟฟ้าความถี่สูง ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนที่ปลายสายสวนพิเศษนี้ ทำให้การนำไฟฟ้าที่จุดนั้นถูกทำลาย หัวใจก็จะไม่เต้นผิดปกติอีกต่อไป
  • การจี้รักษาด้วยพลังงานความร้อนเท่าคลื่นวิทยุ มีอันตรายต่อผู้ป่วยหรือไม่
    อันตรายจากการจี้ด้วยพลังงานความร้อนเท่าคลื่นวิทยุ มีน้อยมาก เพราะคลื่นไฟฟ้าที่ใช้มีกระแสไฟฟ้าต่ำประมาณ 40-60 โวล์ท ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนที่เนื้อเยื่อหัวใจอุณหภูมิ 55-60 องศาเซลเซียส พลังงานนี้จะไม่กระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจหรือปลายประสาท ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บหน้าอกเพียงเล็กน้อย จึงสามารถนำมาใช้ได้โดยไม่ต้องวางยาสลบ
ข้อมูลติดต่อ

โทร. 044-015-999 หรือ โทร. 1719

คลินิกหัวใจเต้นผิดจังหวะ เปิดให้บริการ
  • วันอังคาร  เวลา 17.00-19.00 .
  • วันศุกร์   เวลา  09.00-12.00 .
สถานที่ตั้ง ศูนย์หัวใจ ชั้น โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา