Bangkok Hospital Ratchasima

โรคซึมเศร้า

ความสำคัญ   กรมสุขภาพจิตสำรวจทางระบาดวิทยา พ.. 2546 พบว่าคนไทยอายุ 15-59 ปี ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าร้อยละ 4.38 แม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้ทำให้เสียชีวิตโดยตรง ยกเว้นผู้ป่วยที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ แต่ผู้ป่วยโรคนี้ก็เกิดความสูญเสียต่าง ๆ ซึ่งองค์การอนามัยโลก คาดว่าสิ้นปี ค..2020 จะเป็นโรคที่ทำให้เกิดการสูญเสียเป็นอันดับ ของโลก ผู้ป่วยที่มาเข้ารับการรักษาโรคทางกายที่จำนวนไม่น้อยที่มีโรคซึมเศร้าเกิดร่วมด้วย แต่ไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม บุคลากรสาธารณสุขและประชาชนทั่วไป จึงควรมีความรู้มากขึ้นในการสังเกตอาการตนเองและผู้ใกล้ชิด เพื่อให้คำแนะนำช่วยเหลือได้ก่อนเกิดการสูญเสียต่าง ๆ

การสังเกตตนเอง   โรคซึมเศร้าต่างจากความเศร้าปกติตรงที่อาจไม่ได้เกิดจากเหตุการณ์จริง แต่เกิดจากการคาดการณ์ล่วงหน้าหรือคิดไปเอง และถ้าเกิดจากเหตุการณ์สูญเสียจริง ก็จะมีอาการเศร้ามากเกินควรและนานเกินไป ไม่ดีขึ้นแม้ได้รับกำลังใจ หรืออธิบายด้วยเหตุผล

อาการบงชี้ ได้แก่ ความรู้สึกด้อยค่า รู้สึกผิด อยากตาย นอนมากเกินไป หรือนอนไม่หลับ เบื่ออาหารหรือกินมากขึ้น เพลียไม่มีแรง สมาธิความจำไม่ดี และพบว่ามักมีผลกระทบต่างๆ หน้าที่การทำงาน, กิจวัตรประจำวัน,ด้านสังคมทั่วไป

การประเมินเบื้องต้นก่อนตัดสินใจพบแพทย์   ให้สังเกตอาการที่พบบ่อยดังที่กล่าวมาแล้ว และใช้แบบประเมินโรคซึมเศร้าด้วยตนเอง ฉบับกรมสุขภาพจิต  โทรศัพท์ปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิต หรือเข้ารับคำปรึกษาจากโรงพยาบาลใกล้บ้าน ที่มีแพทย์เฉพาะทางด้านจิตเวช

ข้อมูลติดต่อ

โทร. 044-015-999 หรือ โทร. 1719

ศูนย์สมองและระบบประสาท เปิดให้บริการ
  • วันจันทร์วันศุกร์       เวลา 08.00-19.00 .
  • วันเสาร์วันอาทิตย์   เวลา 08.00-17.00 .
สถานที่ตั้ง ศูนย์สมองและระบบประสาท ชั้น โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา