Bangkok Hospital Ratchasima

ปวดหลัง,ปวดคอ,หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท,ออฟฟิศซินโดรม

ความรู้ทั่วไป

     โรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม กดทับเส้นประสาท เกิดจากภาวะที่มีหมอนรองกระดูกคอ หรือหินปูนที่เกิดขึ้นจากกระดูกคอเสื่อมเคลื่อนตัว ไปกดทับเส้นประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการปวดต้นคอ ร้าวลงสะบัก ร้าวลงที่แขน และมือทั้งสองข้างมีอาการชาแขน มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ ซึ่งโดยทั่วไป ภาวะหมอนรองกระดูกคอเสื่อม หรือโพรงประสาทตีบแคบ อาจพบมีอาการข้างเดียว หรือ ข้าง ในรายที่มีอาการหนัก

     โรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม สามารถเกิดจากหลายสาเหตุ ในคนอายุน้อยอาจเกิดจากการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูก เช่นการยกของหนัก การเล่นกีฬา หรือการได้รับอุบัติเหตุ อาจจะพบอาการได้มากขึ้นในช่วงอายุ 40-50 ปี จะเริ่มเกิดภาวะกระดูกคอเสื่อม มีหินปูนหรือโพรงประสาทตีบแคบ เมื่อเกิดภาวะ หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท ตำแหน่งที่พบบ่อยคือ หมอนรองกระดูกคอข้อที่ 5 -6 และ 6-7

อาการแสดง

        อาการปวดต้นคอเรื้อรัง หรืออาจจะมีปวดต้นคอเฉียบพลัน หลังจากการยกของหนัก นั่งขับรถเป็นเวลานาน ต่อมาจะมีอาการปวดร้าวลงที่สะบัก ปวดร้าวลงแขน อาจจะมีชามือ หรือแขนอ่อนแรง การตรวจร่างกาย จะตรวจพบตำแหน่งที่กดเจ็บอยู่บริเวณกล้ามเนื้อคอ ตรวจพบอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณสะบักทั้ง ข้าง มีอาการร้าวมาที่ข้อศอก อาการปวดร้าวมาที่ปลายนิ้วมือ มีอาการชาที่ปลายนิ้วมือ หากเป็นมากจะพบการอ่อนแรง ของกล้ามเนื้อแขน และกล้ามเนื้อมือ

การวินิจฉัยโรค

        โรคนี้สามารถวินิจฉัยได้ จากการซักประวัติและการตรวจร่างกาย การตรวจเอกซเรย์แบบไดนามิก เป็นการตรวจเพิ่มเติม เพื่อวินิจฉัย ภาวะความไม่มั่นคงของกระดูกคอ

การตรวจ CT Scan สามารถตรวจพบช่องโพรงประสาทตีบแคบ และหินปูนกดทับเส้นประสาท

การตรวจ MRI เป็นการตรวจที่เห็นรายละเอียดชัดเจนของหมอนรองกระดูก ที่กดทับเส้นประสาทได้มากกว่า 95 % และสามารถบอกความรุนแรงของโรค ในกรณีที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด

การตรวจ emg NGV เป็นการตรวจความไวของเส้นประสาทจากการกดทับ ซึ่งจะช่วยในการแยกโรคจากภาวะเส้นประสาทส่วนปลาย

แนวทางการรักษา

     ในเบื้องต้น การรักษาโรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท  สามารถรักษาด้วยยา และรักษาโดยวิธีการทำกายภาพบำบัด

     ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ดีขึ้นในเวลา สัปดาห์ หรือมีภาวะชาและอ่อนแรงของแขนมากขึ้น  ทางแพทย์จะแนะนำรักษาโดยการผ่าตัด

• การรักษาโดยการผ่าตัด

     การผ่าตัดหมอนรองกระดูกคอ โดยใช้กล้องและเชื่อมข้อทางด้านหน้า ศัลยแพทย์กระดูกสันหลังจะผ่าตัดเข้าทางด้านหน้าบริเวณคอ ใช้เครื่องมือสอดและถ่างขยายบริเวณช่องว่างกล้ามเนื้อคอ และนำหมอนรองกระดูกคอที่ถูกกดทับเส้นประสาทออกตามความจำเป็น  หลังจากนั้นศัลยแพทย์จะปิดช่องว่าง โดยการเชื่อมข้อ  ใช้วัสดุเชื่อมข้อเทียมแทนหมอนรองกระดูกสันหลัง และบางครั้งจะยึดตรึงด้วยสกรู หรือแผ่นโลหะ  ผู้ป่วยจะสามารถกลับบ้านภายใน 2-3 วัน หลังการผ่าตัด สามารถปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันได้ปกติในเวลา 2-3 สัปดาห์  อย่างไรก็ตาม ร่างกายจะใช้เวลา ถึง เดือนในการสร้างกระดูกใหม่ เพื่อเชื่อมกระดูก ติดกัน

• ผลของการผ่าตัด

     การผ่าตัดหมอนรองกระดูกคอทางด้านหน้า หวังผลประสบความสำเร็จได้ 92 ถึง 100%  โดยทั่วไปอาการปวดแขนจะลดลงได้มากกว่าปวดคอ  อาการชา และกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะดีขึ้นหลังผ่าตัด ใช้เวลาประมาณ เดือน

ความเสี่ยงจากการผ่าตัด

• ความเสี่ยงทั่วไป

     อาจเกิดผลแทรกซ้อนจากการดมยาสลบ ภาวะแผลติดเชื้อ การเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ความเสี่ยงนี้ พบได้ 1-2 %

• ความเสี่ยงเฉพาะ

– บาดแผลติดเชื้อ อาการบาดเจ็บเส้นประสาท ภาวะเสียงแหบ สามารถพบได้ 1-3 %

– ภาวะกระดูกไม่เชื่อมติดตามกำหนด อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การสูบบุหรี่ โรคกระดูกพรุน โรคอ้วน หรือ อาจเกิดจากโลหะที่ใช้ยึดตรึง มีการหลวม หรือหัก ในบางกรณีอาจต้องผ่าตัดเข้าไปแก้ไขใหม่

การปฏิบัติตัว หลังการรักษา

     – หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การขับรถ ใน 2-4 สัปดาห์ หลังการผ่าตัด งดการทำงานที่ต้องใช้แรงมาก

     – ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ใกล้เคียงปกติ เริ่มจากการเดินในระยะสั้น และค่อยเพิ่มจำนวนการเดินจนถึง 1-2 กิโลเมตร หลีกเลี่ยงการนั่งติดต่อกัน เป็นเวลานาน

     – ผู้ป่วยจะได้รับการนัดหมายให้มาทำแผลผ่าตัด หลังจากออกโรงพยาบาล 1-2 สัปดาห์ และนัดมาติดตามอาการเป็นระยะ อาจมีการแนะนำ การทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟู กล้ามเนื้อ หรือแนะนำ ให้ใส่อุปกรณ์พยุงคอ

     – งดสูบบุหรี่ รักษาและควบคุมน้ำหนักตัว

     – มีท่าทาง การนั่ง ยืน เดิน ที่ถูกต้อง