Bangkok Hospital Ratchasima

โรคเบาหวาน

        โรคที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าระดับปกติ เกิดจากความบกพร่องของฮอร์โมนอินซูลินซึ่งสร้างจากตับอ่อน

ชนิดโรคเบาหวาน

1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes mellitus, T1DM) เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลายจากภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ขาดอินซูลิน มักพบในเด็ก

2. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus, T1DM) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด ร้อยละ 95 ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน มักพบในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนร่วมด้วย 

3. โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus, GDM) เป็นโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ มักเกิดเมื่อไตรมาส 2-3 ของการตั้งครรภ์

4. โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ (specific types of diabetes due to other causes) มีได้หลายสาเหตุ เช่น โรคทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน โรคทางต่อมไร้ท่อ ยาบางชนิด เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

  1. มีอาการโรคเบาหวาน หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มีสาเหตุร่วมกับตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร ถ้ามีค่า ≥200 มก./ดล.

  2. ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (อย่างน้อย 8 ชั่วโมง) ≥ 126 มก./ดล. 

  3. การตรวจความทนต่อกลูโคส โดยให้รับประทานกลูโคส 75 กรัม แล้วตรวจระดับน้ำตาลในเลือดที่ 2 ชั่วโมง ถ้ามีค่า ≥ 200 มก./ดล.

  4. การตรวจระดับน้ำตาลสะสม (A1C) ≥ 6.5% โดยวิธีการตรวจและห้องปฏิบัติการต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งยังมีน้อยในประเทศไทย ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้

***ตรวจยืนยันอีกครั้งโดยใช้ตัวอย่างเลือดอันเดิมหรืออันใหม่ก็ได้ เพื่อให้การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

สัญญาณเตือนโรคเบาหวาน

 

ใครควรตรวจเบาหวาน

1. ผู้ที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป
2. ผู้ที่อ้วน (BMI>25กก/ม2 หรือรอบเอวมากกว่าเท่ากับ 90 ซม.ในผู้ชายหรือมากกว่าเท่ากับ 80ซม.ในผู้หญิง ) และมีพ่อ แม่ พี่ หรือน้องเป็นเบาหวาน
3. มีความดันโลหิตสูง (>140/90mmHg) หรือกำลังรับประทานยาความดันโลหิตสูง
4. มีระดับไขมันในเลือดสูงผิดปกติ ( HDL<35mg/dL หรือ Triglyceride > 250 mg/dL)
5. เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือเคยคลอดบุตรหนักเกิน 4 กิโลกรัม
6. เคยวินิจฉัยภาวะก่อนเบาหวาน (IFG, IGT, A1C > 5.7%)
7. มีโรคหัวใจหลอดเลือด (Cardiovascular disease)
8. มีกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic ovarian syndrome)
9. ลักษณะทางคลินิกที่เกิดร่วมกับ “ภาวะดื้อต่ออินซูลิน” (Insulin Resistance) ที่พบได้คืออ้วนมาก (Severe Obesity) และภาวะ Acanthosis Nigricans (เป็นรอยดำ หนา ขรุขระ บริเวณคอ บางคนเรียกผิวหนังช้าง พบได้บริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ โดยเฉพาะในคนที่อ้วนมาก)

IFG= Impaired glucose tolerance, IFG= impaired fasting glucose 

ข้อมูลติดต่อ

โทร. 044-015-999 หรือ โทร. 1719

ศูนย์อายุรกรรม เปิดให้บริการ
  • วันจันทร์วันอาทิตย์    เวลา 07.00-19.00 .
สถานที่ตั้ง ศูนย์อายุรกรรม ชั้น 2 โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา