Bangkok Hospital Ratchasima

ส่องกล้องระบบทางเดินอาหารสำหรับเด็ก

หากเด็กๆ มีอาการปวดท้องไม่ทราบสาเหตุ ปวดท้องเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ คุณพ่อคุณแม่อย่าละเลย ค้นหาความผิดปกติของอาการ ตรวจหาสาเหตุของอาการปวดท้อง ด้วยการตรวจส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร ให้การตรวจวินิจฉัยและดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยกุมารแพทย์เฉพาะทางด้านโรคอาหารและตับ

ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

     ในกรณีส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน สามารถงดอาหารล่วงหน้าอย่างน้อย ชั่วโมง แล้วรับการตรวจได้เลย ในกรณีส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง ต้องการมีการเตรียมลำไส้ก่อนการส่องกล้อง

• แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อนและงดอาหารที่มีกาก ได้แก่ ผัก ผลไม้ ถั่ว เป็นเวลาล่วงหน้า 2-3 วัน
• ช่วง วันก่อนการส่องกล้อง แนะนำให้รับประทานอาหารเหลวใส และคนไข้จะได้รับยาระบายเพื่อล้างลำไส้ใหญ่ทั้งหมด ครั้ง เพื่อให้ลำไส้สะอาดจนสามารถตรวจหาเนื้องอกในลำไส้และทำการรักษาได้ครบถ้วน

การส่องกล้องทำอย่างไร

• กล้องตรวจทางเดินอาหารเป็นท่อยางนิ่มขนาดเล็ก และมีช่องข้างในเพื่อส่งอุปกรณ์เข้าไปทำการตรวจและรักษา
• การส่องกล้องจะเริ่มหลังจากคนไข้หลับแล้ว การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบนจะผ่านทางปาก เพื่อเข้าไปดูหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร จนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น
• การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่างจะผ่านทวารหนัก เพื่อเข้าไปดูลำไส้ใหญ่ทั้งหมด จนถึงลำไส้เล็กส่วนปลาย

ขณะรับการตรวจส่องกล้องจะเจ็บหรือไม่

     มักจะเป็นคำถามแรกที่คนไข้ทุกรายจะถามหมอก่อนเริ่มการตรวจ จะมีการปรับให้ยาระงับความรู้สึกจนคนไข้หลับก่อน ดังนั้นในขณะที่ตรวจคนไข้จะไม่รู้สึกปวดหรือไม่สบายท้องเลย คนไข้มักจะรู้สึกตัวอีกครั้งที่ห้องพักฟื้น ในกรณีที่ตรวจพบเนื้องอก สามารถทำการตัดเนื้องอกออกได้ทันที โดยไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆทั้งสิ้น

มีความเสี่ยงหรือไม่

• การส่องกล้องทางเดินอาหารมีความปลอดภัยสูงมาก คนไข้จะได้รับการประเมินร่างกายและอาการอย่างละเอียดเพื่อให้มั่นใจว่าจะเกิดประโยชน์และความปลอดภัยสูงที่สุด
• หลังการส่องกล้อง คนไข้ส่วนมากจะไม่มีอาการปวดและจะจำไม่ได้ว่าส่องกล้องไปแล้ว ส่วนน้อยอาจมีอาการแน่นท้องเล็กน้อย ในกรณีที่ตรวจพบเนื้องอกและได้รับการตัดออก อาจมีความเสี่ยงเลือดออกภายหลังได้บ้าง

ต้องนอนโรงพยาบาลหรือไม่

     กรณีส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เตรียมตัวโดยการกินยาระบายเพื่อเตรียมลำไส้ใหญ่ สำหรับเด็กแนะนำให้นอนโรงพยาบาล เพื่อเฝ้าระวังอาการข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น ได้แก่ หน้ามืดจากการสูญเสียน้ำ ความผิดปกติของเกลือแร่ในเลือด

     เช้าวันที่มาส่องกล้อง หมอจะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีในการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน และประมาณหนึ่งชั่วโมงในการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง หลังจากนั้นใช้เวลาพักฟื้นหลังส่องกล้องประมาณ ชั่วโมง คนไข้จะทราบผลการตรวจและสามารถกลับบ้านได้

ไม่ตรวจได้หรือไม่

     คนไข้ส่วนนึงก็ยังมีความกังวลในการส่องกล้องทางเดินอาหารอยู่แม้ว่าจะรู้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว เนื่องจากไม่เคยได้รับการตรวจเช่นนี้มาก่อน การปรึกษาหมอเจ้าของไข้หรือหมอเฉพาะทางระบบทางเดินอาหารจะช่วยให้เกิดความมั่นใจมากขึ้นและคลายความกังวลได้ ทั้งนี้คนไข้แต่ละคนมีความแตกต่างกันในแง่ของสุขภาพร่างกายและข้อบ่งชี้ในการตรวจ หมอจะเป็นผู้ให้คำแนะนำเพื่อเลือกแนวทางการรักษาร่วมกันให้เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

ติดต่อสอบถาม วัคซีนปอดอักเสบ IPD และ ไข้หวัดใหญ่ได้ที่
ศูนย์สุขภาพเด็ก เปิดให้บริการ

วันจันทร์วันอาทิตย์       เวลา 08.00-20.00 .

ข้อมูลติดต่อ

โทร. 044-015-999 หรือ โทร. 1719

Line ID : @VACCINEBKH