Bangkok Hospital Ratchasima

หัวไหล่,ไหปลาร้า,กระดูกไหปลาร้า,ไหล่หัก,ไหปลาร้าหัก

1. ข้อมูลทั่วไป

     กระดูกไหปลาร้าเป็นกระดูกที่อยู่ด้านบนของทรวงอกแต่ละด้าน ความยาวเริ่มตั้งต้นจากกระดูกสันอกจนถึงกระดูกปลายไหล่ ลักษณะของกระดูกและตำแหน่งของกระดูกไหปลาร้าทำให้มีโอกาสหักได้บ่อย

     สาเหตุของไหปลาร้าหักที่พบได้บ่อย คือ ล้มและไหล่กระแทกพื้น

2. การวินิจฉัยกระดูกไหปลาร้าหัก

     ทำได้โดยการซักประวัติ (มีอาการปวด ไม่มีแรงยกไหล่ต้นแขนตรวจร่างกาย (แผลถลอก ฟกช้ำม่วงเขียว ไหล่ตก มีความรู้สึกกึกกักบริเวณที่หักและการตรวจด้วยภาพรังสีเอกซเรย์ แนะนำให้ตรวจด้วยภาพ มุมมองคือ

  1. 1. มองตรง
  2. 2. มองเสย เพื่อให้ลักษณะของการหักได้ชัดเจนที่สุด

• มุมมองตรง

• มุมเสย

3. วิธีการรักษา

1. การรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด กระดูกไหปลาร้าหักส่วนมากสามารถรักษาได้ด้วยวิธีนี้

ข้อบ่งชี้ของการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด

  1. หักแบบมีรอยหัก รอย (กระดูกกลายเป็น 2ชิ้นและแต่ละชิ้นมีการสัมผัสกันที่ดี (ยืนยันจากภาพเอกซเรย์ครบทั้งสองมุมมอง)
  2. ผู้ป่วยมีสุขภาพไม่สมบูรณ์พอที่จะรับการดมยา/ผ่าตัด

รูปแบบของการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด

  1. การประคองนิ่งด้วยกายอุปกรณ์รูปเลข 8 (Figure of 8 shape Clavicle Splint)
  2. การประคองนิ่งด้วยผ้าคล้องแขน (Simple arm sling) ซึ่งการใช้งานสะดวกกว่า การดูแลร่างกายง่ายกว่าและผลการรักษาไม่แตกต่างจากแบบแรก
  3. รวมกายอุปกรณ์ทั้ง 1 และ 2, มักจะใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดมาก เมื่อกระดูกเริ่มติด อาการปวดลดลง จะลดเหลือแค่แบบใดแบบหนึ่ง

ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด

  1. ไม่เกิดแผลเป็น
  2. โอกาสเกิดการบาดเจ็บเพิ่มเติมต่อเส้นเลือดเส้นประสาทน้อยกว่า
  3. มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการรักษาด้วยการผ่าตัด

ข้อด้อย/ภาวะแทรกซ้อนของการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด

  1. ผู้ป่วยบางส่วนพบว่ากระดูกมีการเคลื่อนตัวในภายหลัง เกิดกระดูกสมานติดช้า หรือกระดูกไม่ติด พบได้ 20 % ของผู้ป่วยทั้งหมด (มีโอกาสสูงขึ้นในรายที่ควรรับการผ่าตัด)
  2. กระดูกติดผิดรูป ซึ่งพบได้บ่อย บางครั้งทำให้ดูลักษณะภายนอกของไหล่ไม่เท่ากัน แต่มีผลกระทบต่อการใช้งานน้อยมาก
  3. มีโอกาสข้อไหล่ติดยึดได้สูงกว่าวิธีการผ่าตัดเล็กน้อย (ความเสี่ยงจะสูงขึ้นในผู้สูงอายุ เป็นเบาหวาน)

ปกติจะใช้กายอุปกรณ์อยู่ประมาณ 3-6 สัปดาห์ขึ้นกับอาการและผลเอกซเรย์

2. การผ่าตัด เป็นวิธีที่แนะนำให้คนไข้ที่มีโอกาสกระดูกติดช้าหรือไม่ติดสูง

ข้อบ่งชี้

เกี่ยวกับลักษณะการหัก

1. มีกระดูกห่างกันเกิน 2 ซม.

2. มีการหดสั้น(เหลื่อมซ้อนกัน)เกิน 2 ซม.

3. มีชิ้นกระดูกมากกว่า ชิ้น

4. มีกระดูกหักหลายตำแหน่งในไหปลาร้า ชิ้น

5. กระดูกไหปลาร้าหักแบบเปิด

6. หักและมีการโก่งขึ้นมากดผิวหนังจนมีโอกาสสูงที่จะเกิดแผลกดทับจากภายในทะลุออกมาและนำไปสู่ภาวะติดเชื้อ

7. มีการผิดรูปอย่างชัดเจน

เกี่ยวกับการบาดเจ็บร่วม

1. การบาดเจ็บของเส้นเลือดที่ต้องการการผ่าตัดแก้ไข

2. มีความเสียหายของเส้นประสาทเกิดขึ้นและอาการแย่ลง

3. มีรยางค์บนฝั่งเดียวกัน (กระดูก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นตั้งแต่ไหล่จนถึงมือ)หัก/บาดเจ็บร่วม

4. มีกระดูกซี่โครงซี่บนๆฝั่งเดียวกันหักร่วม

5. ไหปลาร้าหักทั้งสองข้าง(ซ้าย-ขวา)

ปัจจัยของตัวผู้ป่วย

1. ผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบที่ต้องการใช้รยางค์บนเพื่อพาลุก เดิน ยืน ด้วยไม้เท้า

2. ผู้ป่วยที่มีความต้องการกลับไปใช้งานอย่างเร่งด่วน เช่น นักกีฬาอาชีพ หรือผู้ประกอบกิจการส่วนตัว

วิธีผ่าตัด

1. เปิดผิวหนังแบบยาว 1 แผลตามแนวกระดูกเพื่อจัดกระดูกและยึดตรึงภายในกระดูกด้วยแผ่นเหล็กและสกรู

2. เปิดผิวหนังแบบแผลเล็ก 2-3 แผลเพื่อจัดกระดูกและยึดตรึงภายกระดูกด้วยแผ่นเหล็กและสกรู

3. ใส่เหล็กแท่งภายในโพรงกระดูกเพื่อยึดตรึงภายใน

ข้อดีของการผ่าตัด

1. มีโอกาสสูงมากที่จะได้รูปทรงของกระดูกเหมือนก่อนหัก

2. ได้ทำกายภาพเร็วกว่าการไม่ผ่าตัด กลับไปใช้งานได้เร็วกว่า (ในระยะยาวการใช้งานอาจไม่ต่างจากกลุ่มไม่ผ่าตัดลดโอกาสข้อไหล่ติดยึด

ผลข้างเคียง/ภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัดรักษากระดูกไหปลาร้าหัก

1. การติดเชื้อ

2. เห็นแผ่นเหล็กตุงอยู่ใต้ผิวหนัง โดยเฉพาะคนที่รูปร่างผอม

3. แผลเป็นที่ไม่สวยงาม และเจ็บปวดบริเวณแผลเป็นโดยเฉพาะการมีแรงกดที่แผลแรงๆซ้ำๆเช่นสะพายกระเป๋าหนักๆ โดยอย่างยิ่งกรณีที่มีเส้นประสาทเป็นผังผืดอยู่ภายในแผล

4. การบาดเจ็บต่อเส้นเลือด/เส้นประสาท เช่น มีอาการชาผิวหนังใต้ต่อแผลผ่าตัดเนื่องจากแนวแผลผ่านเส้นประสาทฝอยใต้ผิวหนัง 

5. บางครั้งการผ่าตัดอาจไม่สามารถนำกระดูกกลับมาอยู่ในรูปเดิมได้ 100 % โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีกระดูกแตกหลายชิ้นและผ่าตัดผ่านแผลเล็ก

6. บางครั้งแม้ผู้ป่วยจะรับการรักษาด้วยการผ่าตัด บางครั้งพบว่ายังเกิดภาวะกระดูกติดช้าหรือกระดูกไม่ติดได้ ขึ้นอยู่กับสภาวะของผู้ป่วย (เช่น การสูบบุหรี่) ลักษณะของการหัก (หักแบบเปิดเพิ่มโอกาสกระดูกติดช้าหรือไม่ติด) และเทคนิคการผ่าตัดของแพทย์ผู้รักษา

7. การผ่าตัดในอนาคต เช่น การเอาเหล็กดามภายในออก การรักษากระดูกติดช้าหรือไม่ติด การรักษาการติดเชื้อ

หมายเหตุ : ข้อ 3 และ ข้อ 4 การผ่าตัดแบบแผลเล็ก 2-3 แผล จะมีโอกาสน้อยกว่าการผ่าตัดแบบแผลยาว 1 แผล

การดูแลผู้ป่วยกลุ่มที่รักษาด้วยการไม่ผ่าตัด

กิจวัตรประจำวัน

การนอนหลับ นอนหงายหรือตะแคงไปฝั่งที่ไม่หัก โดยใส่ที่คล้องแขนไว้ สอดหมอนไว้บนหน้าอกหรือใต้ศอกเพื่อประคองฝั่งที่หักในท่าที่คนไข้สบาย ผู้ป่วยบางคนพบว่าตัวเองหลับสบายในท่านั่งหรือกึ่งนั่งกึ่งนอน

 
 

การอาบน้ำ ผู้ป่วยที่ใส่กายอุปกรณ์รูปเลข 8 ต้องงดอาบน้ำ(ใช้วิธีเช็ดตัว)จนแพทย์อนุญาตให้ถอดตอนอาบน้ำได้(ส่วนมากหลักจากผ่านไป 1-3 สัปดาห์) ผู้ป่วยที่ใส่คล้องแขนมักจะอาบน้ำได้เลยขณะคล้องผ้าคล้องแขนซึ่งจะแห้งได้ในเวลาอันสั้น ฟองน้ำติดปลายไม้ช่วยให้เช็ดหลังและขาได้ง่ายยิ่งขึ้น

การแต่งตัว ใส่เสื้อผ้าหลวมๆและเป็นเสื้อมีกระดุม กลัดและเกาะกระดุมด้วยมือฝั่งที่กระดูกไม่หัก เวลาใส่เสื้อใส่แขนเสื้อในฝั่งที่หักก่อน เวลาถอดเสื้อถอดแขนเสื้อฝั่งที่ไม่หักก่อน

การออกกำลังกาย

     ใส่คล้องแขนจนผู้ป่วยปวดน้อยลง และ/หรือเริ่มเห็นหลักฐานของการเริ่มมีการสมานตัวของกระดูกจึงเริ่มขยับไหล่ เพื่อให้ได้พิสัย(การเคลื่อนไหว)ของข้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการทำงานของมือและแขน

          ไม่ให้ใช้มือฝั่งที่หักยกของเป็นเวลา สัปดาห์หรือผลเอกซเรย์แสดงหลักฐานของการติดสมานบางส่วนแล้ว การออกกำลังกายชนิดมีแรงต้าน(เช่น การยกของ การยกลูกน้ำหนักจึงมักจะเริ่มได้หลังจากหักเป็นเวลา สัปดาห์

     การออกกำลังกายหรือทำงานที่มีแรงกระทำต่อแขนค่อนข้างมากต้องงดเว้นจนกว่ามีหลักฐานของการยึดติดสมบูรณ์จากการประวัติ/ตรวจร่างกายและภาพเอกซเรย์ ปกติกระดูกไหปลาร้าใช้เวลาสมานประมาณ 8-12 สัปดาห์

การรักษากระดูกไหปลาร้าหักแบบไม่ผ่าตัดมีอยู่ ระยะ

ระยะที่ 1 : วันแรกถึง สัปดาห์ เพื่อให้มีการเคลื่อนไหวเล็กน้อยเพื่อลดบวมซึ่งจะช่วยป้องกันข้อไหล่ติดยึด แนะนำให้ออกกำลังกายดังต่อไปนี้ – งอและเหยียดศอก – กำและแบมือ – บีบลูกบอลขนาดเล็กเบาๆซ้ำๆ – กระดกข้อมือขึ้นลงและหมุนเป็นวงกลม – หงายและคว่ำฝ่ามือ – ออกแรงให้สะบักขยับเข้าหากันเบาๆ

ระยะที่ 2 : 3 สัปดาห์ถึง 6 สัปดาห์หลังการหัก เริ่มออกกำลังกายขยับไหล่แบบลูกตุ้มนาฬิการเมื่ออาการปวดเริ่มลดลง ต่อมาเริ่มเพิ่มการขยับไหล่ด้วยผู้อื่นขยับให้(Passive)และผู้ป่วยออกแรงช่วย(assisted)

ระยะที่ 3 : 6 สัปดาห์ถึง 12 สัปดาห์หลังการบาดเจ็บ

     เมื่อพบว่ากระดูกเริ่มติดสมานจากการตรวจร่างกายและเอกซเรย์ แพทย์จะอนุญาติให้ผู้ป่วยสามารถยกของเบาๆและเพิ่มน้ำหนักขึ้นทีละน้อย การกลับไปทำกิจกรรมตามปกติจะทำได้เมื่อกระดูกติดสมานเต็มที่และกล้ามเนื้อของไหล่และแขนฝั่งนั้นแข็งแรงเต็มที่ซึ่งปกติใช้เวลาประมาณ 6 เดือนหลังเกิดการหัก อาจจะเร็วกว่าหรือช้ากว่านั้นขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพของคนไข้, ความคืบหน้าของการสมานของกระดูกและการตอบสนองต่อการกายภาพบำบัด

     ถ้าพบว่าไม่มีความคืบหน้าของการสมานของกระดูกที่ 3 เดือน แพทย์จะแจ้งว่ากระดูกติดช้า และถ้าครบ 9 เดือนกระดูกไม่ติดสมานแนะนำให้รับการผ่าตัดเพื่อให้กระดูกติด

การดูแลผู้ป่วยกลุ่มที่รักษาด้วยการผ่าตัด

     ในกลุ่มที่ผ่าตัดแนะนำให้ใส่คล้องแขนไว้ 1-2 สัปดาห์เพื่อลดการอักเสบของแผลผ่าตัด และเริ่มเคลื่อนไหวและรับน้ำหนักได้เร็วกว่ากลุ่มไม่ผ่าตัด

โดยนพ.อนุวัฒน์ ขัดสงคราม แพทย์ศัลยกรรมกระดูกด้านอุบัติเหตุ และทีมเจ้าหน้าที่รพ.กรุงเทพราชสีมา

ที่มาของเนื้อหา : https://surgeryreference.aofoundation.org/
ข้อมูลติดต่อ

โทร. 044-015-999 หรือ โทร. 1719

ศูนย์โรคกระดูกและข้อ เปิดให้บริการ
  • วันจันทร์วันอาทิตย์    เวลา 08.00-20.00 .
สถานที่ตั้ง ศูนย์โรคกระดูกและข้อ ชั้น 2 โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา