ในผู้หญิงพบมะเร็งปากมดลูกมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม อัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเฉลี่ย 13 รายต่อวัน ภาวะเสี่ยงที่ทำ ให้เกิดมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์เร็ว อายุมากกว่า 40 ปี มีคู่นอนหลายคน การสูบบุหรี่ และ การติดเชื้อไวรัส HPV
พบว่าการติดเชื้อ HPV ในบางส่วนสามารถหายเองได้ แต่ในรายที่มีการติดเชื้อเรื้อรังคือนานกว่า 6 เดือน โอกาสหายจากการติดเชื้อจะน้อย และกระตุ้นให้เกิดเซลล์ปากมดลูกผิดปกติมากขึ้นเรื่อยๆ ได้ ตั้งแต่เริ่มผิดปกติเล็กน้อยไปจนถึงเปลี่ยนเป็นมะเร็งปากมดลูกใช้เวลาเฉลี่ยหลังติดเชื้อ 10-20 ปี
ไวรัส HPV มีทั้งสายพันธ์ที่ก่อให้เกิดหูดหงอนไก่ สายพันธุ์ที่ก่อมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งรูทวารหนัก การฉีดวัคซีนจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้สูงกว่าการติดเชื้อธรรมชาติถึง 100 เท่า ปัจจุบันมีวัคซีน 3 ชนิด ตามประมาณสายพันธุ์ของเชื้อ HPV คือชนิด 2 สายพันธุ์ 4 สายพันธุ์ และ 9 สายพันธุ์
วัคซีน ชนิด 2 และ 4 สายพันธุ์ ครอบคลุมการป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ 70 % ส่วนวัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์ สามารถเพิ่มความควบคุมการป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้มากขึ้นถึง 90 % มีการศึกษาการฉีดวัคซีนในหญิงในช่วงอายุ 15-26 ปี อายุ 9-21 ปี อายุ 27-45 ปี และมีการศึกษาฉีดวัคซีนในเพศชาย พบว่าสามารถสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนักได้ดี