
แผนกโรคพาร์กินสัน
ให้การดูแลรักษาโรคเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติจะครอบคลุมไปถึงการเคลื่อนไหวที่ช้าเกินไปเช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) ซึ่งปัจจุบันโรคนี้จะพบได้มากขึ้นจากสังคมที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น
อาการของโรคพาร์กินสัน
- ผู้ป่วยจะมีอาการสั่น
- เกร็งปวดของกล้ามเนื้อ
- สูญเสียการทรงตัวร่วมด้วย
อาการของการเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติที่เร็วเกินไป
- อาการสั่น (tremor)
- อาการกระตุก (myoclonus, tics disorders)
- อาการบิดเกร็งกระตุกของกล้ามเนื้อ (dystonia) หรืออาการเคี้ยวปาก หรืออาการคล้ายรำละคร (chorea)
ซึ่งโรคเหล่านี้ต้องพยายามตรวจค้นเพื่อหาสาเหตุ เพื่อการรักษาที่ต้นเหตุ ปัจจุบันมีการตรวจด้วยเครื่องสเเกนสมองชนิด CT, MRI เเละ PET Scan
การรักษาโรคพาร์กินสัน ที่ได้ผลคือการรักษาด้วยยาทดเเทนโดปามีนที่ขาดไป ปัจจุบันมียาอยู่หลายชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น ส่วนในกลุ่มที่เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยามานาน (motor fluctuations)
รักษาด้วยวิธีฝัง electrode เพื่อกระตุ้นสมองส่วนลึก (deep brain stimulation) ร่วมด้วย เพื่อลดปริมาณยาที่ใช้เเละลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาลงได้
รักษาด้วย botulinum toxin injection เป็นการรักษาโรคหน้ากระตุก (Hemifacial spasm) โรคคอบิดเกร็ง (cervical dystonia) กล้ามเนื้อเกร็งจากโรคอัมพฤกษ์อัมพาต (muscle spasticity) เพื่อลดการเกร็ง การกระตุก เเละความปวดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อลงได้ สารนี้จะไปยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อชั่วคราว (transient focal muscle paralysis)โดยไปยับยั้งการปล่อยสาร acetyl choline ที่ปลายประสาทที่ต่อกับกล้ามเนื้อ หลังฉีดยาจะไม่ออกฤทธิ์ทันทีต้องใช้เวลา 3-4 วันเเละจะออกฤทธิ์สูงสุดในสัปดาห์ที่ 2 เเละผลของการรักษาจะอยู่ได้นานถึง 2-3 เดือน นอกจากนี้สารนี้ยังสามารถลดการหลั่งเหงื่อซึ่งเป็นต้นเหตุของกลิ่นตัวได้อีกด้วยลินิกโรคพาร์กินสัน และการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Parkinson’s Clinic)
DOCTOR
ข้อมูลติดต่อ
โทร. 044-015-999 หรือ โทร. 1719
ศูนย์สมองและระบบประสาท เปิดให้บริการ
- วันจันทร์–วันศุกร์ เวลา 08.00-19.00 น.
- วันเสาร์–วันอาทิตย์ เวลา 08.00-17.00 น.