การทำกายภาพบำบัดด้วยแสงเลเซอร์ (laser)
แสงเลเซอร์เป็นส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดผลทางชีววิทยารอบๆ เซลล์ เร่งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ กระตุ้นการซ่อมแซมของแผลเรื้อรัง ระงับการปวดเฉพาะที่ และช่วยลดการอักเสบ แสงเข้าไปกระตุ้นให้เซลของร่างกายในบริเวณที่รับแสงหลั่งสารลดปวดและลดการอักเสบ ซึ่งได้ผลพอๆ หรือมากกว่ายาลดการอักเสบดีๆที่มีในตลาดปัจจจุบัน แถมยังได้ผลยาวนานกว่า นอกจากนั้น พลังงานจากแสงยังถูกดูดซับแล้วเก็บตุนไว้ในไมโตคอนเดรีย เพื่อใช้เป็นพลังงานของตนเองในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อในส่วนนั้นๆโดยธรรมชาติ
ผลลัพธ์ของการบำบัดอาการปวดด้วยเลเซอร์กำลังสูงที่ดี
- หายปวดไปกว่าครึ่งทันที หลังการบำบัดปวด
- ใช้เวลาน้อยในการรักษา เช่น 2-5 นาทีต่อจุดหรือบริเวณหนึ่งๆ
- ไม่ต้องรักษาต่อเนื่องทุกวัน อาจเว้นวันหรือสองวันครั้ง บางกรณีสัปดาห์ละครั้ง
- จำนวนครั้งการรักษาน้อย คือ 3-5 ครั้ง สำหรับอาการปวดระยะเฉียบพลัน และ 10-15 ครั้งสำหรับอาการปวดเรื้อรัง
- บำบัดได้ทุกๆระยะของความเจ็บปวด ทั้งระยะเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรัง โดยเฉพาะระยะเฉียบพลัน
- บำบัดลงลึกถึงตำแหน่งของต้นตอความเจ็บปวดได้ลึกถึง 3-4 ซม ดังนั้น จึงบำบัดอาการปวดจากการกดทับรากประสาท ที่บริเวณคอและเอวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- กลไลการบำบัดเป็นไปโดยธรรมชาติ
ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดด้วยแสงเลเซอร์กำลังสูง จะมีความรู้สึกเพียงความร้อนอุ่นๆ ที่ผิวกาย ไม่มีการทาเจลเหนียวๆ ไม่มีการจ่อสัมผัสผิวโดยตรง ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดใดๆในระหว่างบำบัด ดังนั้น จึงเหมาะมากสำหรับการเลือกใช้เป็นเครื่องมือแรกๆในการบำบัดปวด ( ก่อนจะไปถึงวิธีการรักษาที่ต้องทิ่ม แทง ผ่า บีบ กด นวด อย่างเจ็บปวด )
ถามว่า มีผลแทรกซ้อนบ้างไหมจากการบำบัดวิธีนี้ คำตอบคือ มี แต่น้อยมาก ผู้ป่วยน้อยราย (น้อยกว่า 20%) ที่รู้สึกระบมหลังการบำบัด 2-3 ชั่วโมง กล่าวคือ อาการปวดที่ดีขึ้นชัดเจน พอผ่านไป 2-3 ชั่วโมง กลับรู้สึกปวดมากขึ้นกลับมาอีก ซึ่งมักจะรู้สึกต่างกัน คือเป็นปวดแบบระบมมากกว่าปวดแบบเดิมที่เคยเป็น ผู้ป่วยโดยส่วนใหญ่ ไม่มีผลแทรกซ้อนใดๆเลย แถมอาการปวดจะบรรเทาลงต่อเนื่องไปอีกเป็นวันๆ
โรค และอาการต่างๆ ที่ได้ผลดีในการรักษาด้วยเลเซอร์กำลังสูง ได้แก่
- การบาดเจ็บ เคล็ดยอก ตามข้อกระดูก เอ็น พังผืด กล้ามเนื้อ
- ปวดศีรษะไมเกรน
- ปวดคอ บ่า จากการเสื่อมหรือเคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลังคอ
- ปวดไหล่ ไหล่ติด จากการอักเสบหรือการเสื่อม
- ปวดบวม อักเสบที่ข้อศอก ข้อมือ นิ้วมือ
- ปวดเอว ปวดหลังจากการเสื่อมหรือเคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลังเอว
- ปวดสะโพก ปวดกล้ามต้นขาทั้งด้านหน้าและด้านข้าง
- ปวดเข่าจากการอักเสบเคล็ดยอก หรือการเสื่อม
- ปวดข้อเท้าจากการพลิก เคล็ดยอก อักเสบ
- ปวดส้นเท้า ฝ่าเท้า จากพังผืดฝ่าเท้าอักเสบ
- อาการชาจากโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ผลแทรกซ้อนจากเคมีบำบัด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.thaikm4u.com/mydiary/hplt/