
การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อจากการเล่นกีฬา
กล้ามเนื้อบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาเป็นอาการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการออกกำลังกายได้มาก กล้ามเนื้อที่พบการบาดเจ็บได้บ่อย อาทิเช่น กล้ามเนื้อต้นขา กล้ามเนื้อเอ็นหลังหัวเข่า กล้ามเนื้อโคนขาหนีบ และกล้ามเนื้อน่อง เป็นต้น

การบาดเจ็บส่วนมากเกิดขึ้นเอง มักไม่ได้มีการกระแทกกระเทือนกับอะไรที่ชัดเจน การบาดเจ็บแบบนี้เกิดจากการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงและฉับพลันในขณะที่ข้อต่อและรยางค์มีการขยับไปในทิศทางตรงข้าม (excessive eccentric contraction)
มีส่วนน้อยที่การบาดเจ็บฉีกขาดของกล้ามเนื้อเกิดจากการกระแทกโดยตรง
หลังการบาดเจ็บ อาจจะมีอาการเจ็บขึ้นมาทันที ที่บริเวณกล้ามเนื้อที่ฉีกขาด ในบางรายอาจจะพบรอยช้ำหรือจ้ำเลือดที่ผิวหนังได้ ในบางรายอาจจะพบเพียงแค่อาการเจ็บตึง แต่ยังสามารถเล่นกีฬาต่อไปได้
นอกจากนี้ อาการที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อบาดเจ็บ อาจจะพบได้ทันทีหลังการบาดเจ็บ หรืออาจจะมีอาการเกิดขึ้นหลังจากนั้นหลายชั่วโมงก็ได้ ซึ่งจะมีอาการปวดล้า ระบม เมื่อยตึง เป็นอย่างมาก
การรักษาเบื้องต้นหลังเกิดอาการบาดเจ็บ
โดยทั่วไปจะแนะนำให้ใชัวิธี RICE คือ

• Rest

• Ice

• Compression

• Elevation
- Rest - พักและหยุดกิจกรรมที่ทำอยู่ทันที
- Ice - ใช้ความเย็น เช่นน้ำแข็งประคบส่วนที่เจ็บ
- Compression - กดหรือพันรัดในส่วนที่ได้รับบาดเจ็บไว้ชั่วคราว
- Elevation - ยกส่วนที่ได้รับบาดเจ็บขึ้นไว้สูง ไม่ห้อยต่ำ
วิธีการเหล่านี้ช่วยให้อาการปวดบวมและการอักเสบของส่วนที่บาดเจ็บลดลงได้เป็นอย่างดี
การพยากรณ์โรค
โดยทั่วไปแล้วค่อนข้างดีมาก อาการบาดเจ็บจะหายได้และกลับมาเล่นกีฬาได้เป็นปกติ โดยเวลาที่พักฟื้นจะอยู่ที่ราวๆ 2-6 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น
การป้องกันการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ
สามารถทำได้โดย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นประจำ, อบอุ่นร่างกายก่อนและหลังเล่นกีฬาทุกครั้ง, ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ, เริ่มเล่นกีฬาจากเบาๆก่อน ไปหาหนัก, ไม่ออกกำลังกายหนักเกินไป, ดื่มน้ำให้เพียงพอ ก็จะทำให้โอกาสที่กล้ามเนื้อจะบาดเจ็บ ฉีกขาดก็จะลดลงได้

• Dynamic Stretches การยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนไหว ควรทำก่อนออกกำลังกาย
